top of page

รู้บ้างไว้ โรคภัยจะไกลตัว


การดำน้ำในประเทศไทยเป็นกีฬาที่ฮ๊อตฮิตอย่างเสมอต้นเสมอปลายครับ ปัจจุบันน่าจะมีนักดำน้ำที่ผ่านการรับรองได้บัตรน้ำเบื้องต้นแล้วแล้วทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 9ล้านคน (ตัวเลขจากจำนวนนักเรียนที่ได้รับการรับรองจากสถาบันหลักในโลกเช่น NAUI และPADI) โรงเรียนสอนดำน้ำก็มีมากขึ้น งานวิจัยจากสำนักงานเพื่อสนับสนุนงานวิจัยในปี 2558 สรุปว่า มีร้านและโรงเรียนสอนดำน้ำในเมืองไทยไม่ดำกว่า 245ร้าน ซึ่งเป็นของทั้งคนไทยและต่างชาติ ครูดำน้ำในเมืองไทยก็มีหลักหลายร้อยคนที่สอนอยู่ แค่พัทยาก็มีโรงเรียนและร้านดำน้ำเกือบ 70ร้านแล้ว ทำให้นักดำน้ำและกีฬาดำน้ำในเมืองไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

หลายครั้งเรามักจะพูดถึงข้อดี ความสนุกสนานของการดำน้ำมากกว่าข้อควรระวัง และผลที่อาจจะตามมาจากการดำน้ำลึก ซึ่งหลายครั้งผลเหล่านี้สามารถสร้างความรำคาญจนถึงมีอันตรายต่อสุขภาพของนักดำน้ำได้จนถึงเสียชีวิตได้ ถ้านักดำน้ำหรือผู้ฝึกสอนไม่เข้าใจธรรมชาติ หรือไม่ได้รับการฝึกฝนที่ดีครับ

โรคภัยไข้เจ็บโรคหนึ่งที่เกี่ยวกับการดำน้ำหรือเกิดจากการดำน้ำเราเรียกว่า Barotrauma (บาโรทรอมา) ฟังชื่ออาจจะยากแต่อธิบายไม่ยากครับ โรคกลุ่มนี้ คือการที่มีก๊าซซึมเข้าสู่ช่องว่างหรือโพรงอากาศในร่างกาย และทำให้เนื้อเยื่อเราเสียหายเพราะร่างกายเราระบายก๊าซออกไปไม่ทันนั่นเอง โรคนี้เกิดได้ทุกระดับความลึกครับ ที่พบบ่อยก็คือ หูอื้อนั่นเอง ซึ่งอาการนี้เกิดกับโพรงหูชั้นกลาง คือถ้าเราดำน้ำลงไปแล้ว ความดันมันก็สูงขึ้นตามความลึก ปริมาตรของช่องหูชั้นกลางที่มีโพรงอากาศเยอะของเราก็ลดลง ทำให้เราเจ็บหู สิ่งที่เราควรทำก็คือลดความดันนั้นลงโดยการกลั้นหายใจ เป่าลมออก หรือกลืนน้ำลายขยับกรามเล็กน้อย ก็จะดีขึ้น ธรรมชาติของร่างกายเราพยายามปรับความดันเองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปเป่าลมออกแรงมาก ทำช้าๆที่ระดับความลึกมากขึ้น เพราะถ้าฝืนมากไป มันจะไปกระทบหูชั้นในที่มีโพรงอากาศน้อยกว่า ทำให้ปวดหัวมากขึ้น มึน เกิดอาการหลงน้ำหลงทิศทางได้ ทางที่ดีเมื่อปรับสภาพความดันไม่ได้ก็กลับขึ้นมาที่ความลึกอีกระดับนึง แล้วพักก่อน แล้วเริ่มทำการปรับหูใหม่ โดยการกลืนน้ำลายหรือกลั้นหายใจและการเป่าลมออกจากหูเหมือนเดิม ถ้าทำไม่ได้อีกก็กลับขึ้นเรือ นอนราบ เอาหัวสูงจากระดับพื้นประมาณ 30องศา เดี๋ยวก็จะดีขึ้นเองครับ อ้อ อีกโรคที่ต่อเนื่องกันกับเรื่องความดันในโพรงระบบประสาทก็คือตาเรานี่เองครับครับ ถ้าเป่าลมออกจากหูแรงไป หรือปรับความดันไม่ทัน หรือใส่หน้ากากแน่นไป พอส่งไปที่ลึกๆก็มักทำให้ตาแดงเพราะเส้นเลือดในรับแรงดันมากเกินไปครับ (subconjunctival hemorrhages)

อีกโรคนึงที่นักดำน้ำรู้จักกันดี คือโรงน้ำหนีบ หรือโรคเบนด์ครับ (กลุ่มโรคที่เราเรียกว่า Decompression Sickness) เกิดจากก๊าซเหมือนกัน แต่เป็นก๊าซเฉื่อยหรือไนโตรเจนที่ละลายเป็นฟองอากาศเข้าไปในเลือดหรือเนื้อเยื่อของเราเร็วเกินไป ต้องบอกว่าแค่เร็วเกินไปนะครับ เพราะไนโตรเจนคือส่วนผสมสำคัญของอากาศอยู่แล้ว แต่การดำน้ำคือการไปเพิ่มแรงดันให้เค้า เค้าก็อยากจะหนีแรงดันให้มันเร็วหน่อย แต่เค้าคือก๊าซเฉื่อย เค้าก็ทำอะไรช้า ตอนเราดำน้ำอยู่ เมื่อเค้าหนีไปไหนไม่ได้เค้าก็ต้องหาที่อยู่ใหม่ เมื่ออยู่ในปอดไม่ได้เพราะปอดเราเล็กลงที่ความลึกสูงขึ้น เค้าก็หาทางออกไปที่เลือดเรา ข้อต่อ เส้รประสาท กระดูกเรา โรคนี้แตกต่างจาก Barotrauma นะครับ เพราะโรคกลุ่มบาโรทรอมาจะเกิดที่ความลึกเกิน 10เมตรเท่านั้นถึงจะมีผลในการทำลายเนื้อเยื่อ แต่โรคน้ำหนีบเกิดที่ทุกระดับความลึก เพราะเกิดจากปริมาณของก๊าซที่เป็นผลโดยตรงกับ ความลึก(ในทุกระดับ) และ เวลาในการดำของนักดำน้ำ เรามักเรียกและอธิบายเรื่องโรคน้ำหนีบนี้โดยใช้เรื่อง partial pressure หรือความดันบางส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ (ยากจัง) จำหลักการง่ายๆครับ คือปรกติสารใดก็ตามจะละลายจากที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่ที่ที่มีความเข้มข้นต่ำ (เหมือนเกลือก็ละลายในน้ำ ไม่ใช่น้ำละลายในเกลือ) ซึ่งในกรณีของความเข้มข้นของก๊าซ เราจะเรียกว่า pressures หรือความดัน แทนคำว่า ความเข้มข้นครับ ในแต่ละความลึก เมื่อ ก๊าซผสมกัน เราก็จะเรียกความเข้มข้นรวมนี้ว่า ความดันรวม หรือ total pressure แต่ในอากาศมีทั้งก๊าซไนโตรเจนและอ๊อกซิเจน เพราะฉะนั้น partial pressure ก็คือสัดส่วนของก๊าซแต่ละตัวที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากความดันและไหลเข้าออกภายในร่างกายเราระหว่างการดำน้ำนั่นเอง (ก๊าซไหลออกจากร่างกายไม่ได้เพราะน้ำแรงดันสูงกว่าร่างกายในระหว่างอยู่ใต้น้ำ)

สำหรับ โรคน้ำหนีบ อาการคือปวดตามข้อ เหนื่อยล้า ที่หนักๆก็คือเข้าเส้นเลือดแล้วไม่ยอมออก มึน ปวดหัว หมดสติหรือเสียชีวิตได้ครับ ที่น่าห่วงคือ กว่าครึ่งของอาการของโรคนี้ เกิดหลังการดำน้ำ หรือเมื่อขึ้นจากน้ำ กว่าทั้งหมดของการเกิดอาการของโรคนี้เกิดได้สองสามวันหลังจากดำน้ำนะครับ เพราะฉะนั้น สังเกตตัวเองดีๆนะครับ

อีกโรคนึง เราเรียก Air-embolus ครับ อธิบายง่ายๆคือ อากาศหรือฟองอากาศในร่างกายไปสัมผัสกับเลือดร่างกายเรา เพราะเส้นเลือดฉีกขาดเนื่องจากเราไปกลั้นหายใจตอนขึ้นจากน้ำ หรือระหว่างการดำน้าแบบสกูบ้า อ้าว ทำไมกลั้นหายใจไม่ได้ล่ะ? ก็ตอนเราขึ้นจากน้ำ ปอดเราขยายตัวอยู่แล้วเพราะความดันลดลง การไม่หายใจเข้าปอดก็คือการที่ไม่มีอากาศเข้าไปเพื่อให้ปอดลดความดันพอเราสะสมของเสียจากการหายใจหรือคาร์บอนไดอ๊อกไซด์มากขึ้น ก๊าซหาทางออกไม่ได้ แถมไนโตรเจนหรือแม้แต่อ๊อกซิเจนก็รีบขยายตัวเร็วไปเพราะหาทางออกได้แล้ว(เนื่องจากมีช่องว่างมากขึ้นในปอด) อาการประมาณนี้เรามักเรียกว่า Pulmonary over-inflation หรือ lung over-pressurization ก็คือปอดและถุงอากาศเล็กในปอดก็ฉีกครับ อาการแบบนี้ถ้าเกิดขณะเรากำลังดำน้ำลง แล้วกลั้นหายใจ เราเรียกว่า pneumothorax ซึ่งหลักการเหมือนกัน คือ เมื่อก๊าซหาทางออกไม่ได้ ก็ทะลุเส้นเลือดครับ สรุปปอดฉีกขาดได้ หรือเกิดการน๊อกน้ำสลบเหมือดได้ (shallow water blackout) ไม่ว่าดำขึ้นหรือดำลงครับ โรคในกลุ่มกรณีนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับอัตราความเร็วขึ้นลงการดำน้ำ แต่เกี่ยวกับการกลั้นหายใจครับ

ขอให้ดำน้ำด้วยความสนุกสนานและปลอดภัย มีอะไรไม่แน่ใจถามคุณหมอและครูดำน้ำของเรานะครับ

about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page