9 เคล็ดลับ ดำน้ำให้มีความสุข Wellness & Happiness for Freedivers
น้องๆพี่ๆที่มาเรียนฟรีไดฟ์คงแปลกใจใน ‘ความจำ’ ของตัวเองในบางครั้ง.. ทำไมตอนเรียนกับครู สาระที่ต้องจำได้ ดันจำไม่ได้ แต่ทักษะ(สกิล)ที่ใช้ความเข้าใจ ครูทำให้ดู พอทำได้แล้ว จะทำได้ดี..
หรือจริงๆไม่ใช่เรื่อง ‘ความจำ’ แต่เป็นเรื่อง ‘จิตใจ’ กับ 'ความสุข' ที่อยากจะทำมากกว่า?
คุณอุ๋ย ( PB.13.5 m) คุณเบล (PB. 24.3 m) Friends of Sea Mastermind
ตอนแรกหลายคนคงสงสัย ว่าทำไมครูบอกให้ลงน้ำบ่อยๆ เดี๋ยวก็ลงลึกได้เอง.. ครูสอนเทคนิคสารพัด พอหายไป ก็จำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ถ้าได้เริ่มลงทะเลบ่อยๆ กลับก็ลงได้แฮะ
สมองมี'ลิ้นชัก'เฉพาะด้านครับ ตอนเราลงทะเล แต่ละเทคนิคที่ฟังมามันมารุมมาตุ้มกันเยอะไปหมด พอเราเปิดลิ้นชักพร้อมกันระหว่างการลงน้ำที่ความลึก มันก็รัวนัวกันไป สุดท้ายก็ลงไม่ได้..
‘จิตใจ’ ที่ สุขสงบ นิ่ง จึงอาจจะเป็นเหตผลของการลงฟรีไดฟ์ได้ดีมากกว่าความพยายามที่จะ ‘จำ’
วันนี้มีเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆจากนักกีฬา เพื่อนๆ Trainer และ จากประสบการณ์ตัวเองมาแนะนำ ว่าทำอย่างไร ถึงจะเอาชนะใจตัวเอง เพื่อฟรีไดฟ์ให้มีความสุขครับ
1. ท่องไว้ๆ ถ้าคนอื่น'ทำได้' เดี๋ยวเราก็'ทำได้' ถึงจะใช้เวลาไม่เท่ากัน .. ก็คนเรียนฟรีไดฟ์กันเยอะแยะ ถ้าร่างกายเราเองไม่ได้ผิดปรกติ ไม่ได้ป่วย พักผ่อนเพียงพอ ก็ไม่ต้องไปกังวลอะไร (ออกแนวปลงหน่อย.. เสียตังค์แล้วนิ)
2. ลองถามตัวเอง ว่าจะเรียนเอาไปเพื่อทำอะไร ถ่ายรูปเล่น.. ยิงนกตกปลาหาของทะเลขาย.. อยากแค่เอาชนะใจตัวเองว่าถึงแก่แล้วเราก็ทำได้ว้อยยย.. หรือตั้งใจจะเป็นนักกีฬา.. หรืออยากเป็นครู
เหตผลของการเรียนแต่ละแบบ นำไปสู่ความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นทีละขั้นตอน เพิ่มแบบค่อยเป็นค่อยไปเมื่อรู้จักกิจกรรมชนิดนี้มากขึ้นครับ อยากรู้มาก ระหว่างเรียนก็ถามครูของท่านได้ ว่าการดำน้ำแบบฟรีไดฟ์แต่ละแบบ แต่ละความลึก ต่างกันในแง่เทคนิคอย่างไร
3. ลองทำความเข้าใจกับกิจกรรมชนิดนี้ก่อน ฟรีไดฟ์ไม่ได้อันตรายถ้ารู้จักเลือกระดับการเรียนให้เหมาะสมกับตัวเอง และค่อยๆฝึกอย่างถูกวิธีและเป็นขั้นตอน ถึงแม้พื้นฐานการหายใจจะคล้ายกันในเบื้องต้น แต่เมื่อความลึกเริ่มเปลี่ยนวิธีการก็เปลี่ยนไป ลงไม่กี่เมตรก็ไม่ต้องไปกังวลอะไรเยอะ ลงลึกไปก็เจ็บหูเร็ว ไม่ใช่ว่าลงไม่ได้แต่ลงไม่ถูกวิธีมากกว่า
4. เตรียมตัวลงลึกเสมือนเตรียมตัวไปเที่ยว วางแผนให้เสร็จ ว่าพรุ่งนี้จะลงลึกเท่าไหน ลงอย่างไร แล้วก็ทิ้งมันไปจากสมองซะ ไม่ต้องไปสนใจมันอีก นอนๆๆ..
เช่น.. กะว่า ลองลง freefall ที่กี่เมตร ท่าลงแบบไหน ก็เตรียมตะกั่ว หรือ wetsuit ให้ถูกต้อง
หรือ จะ FRC ไปถึงกี่เมตร ก็ถามตัวเองดูว่าพร้อมและดูผลการซ้อม STA / CWTจากครั้งล่าสุดมาแล้วมันสัมพันธ์กันมั้ย มันน่าจะทำได้มั้ย
.. พอฟังครู brief หรือวางแผนเสร็จ พยายามปล่อยให้ทุกอย่างเป็นเรื่องของ 'จิตใจ' หรือ muscle memory
5. ถ้าวันนี้ยังทำไม่ได้ ก็อย่าไปฝืน ฟรีไดฟ์ไม่ใช่สกูบ้า ดำน้ำแบบนี้เราใช้ร่างกาย+จิตใจไม่ได้ใจอุปกรณ์ช่วย น้อยคนที่จะทำทักษะ(สกิล)ต่างๆได้ในครั้งแรกเลย ทำไม่ได้ก็บอกครูไปสิ ยังทำไม่ได้อ่ะ 'พอก่อนนะ' 'รอแป๊ป' 'เด๋วๆครู ขอทำใจก่อน'
สบายใจ แล้วค่อยเริ่มต้นใหม่ รีบๆบี้ลงไปได้ความลึก ได้บัตร แต่ไม่สนุก งั้นจะดำน้ำไปทำไมล่ะครับ?
6. ค่อยๆทำความรู้จักกับร่างกายตัวเองทีละนิดทีละหน่อย พอเรียนฟรีไดฟ์ไปแล้วก็ควรจะอธิบายได้ ว่าวันนั้นทำไมลงไป 10ไม่เจ็บหน้าอก แต่วันนี้ลงแค่ 5เมตรทำไมเจ็บ เมื่อวานลงปรี๊ดไป 20เมตรไม่เจ็บหู วันนี้แค่อยู่บนเรือก็มึนแล้ว ของพวกนี้ร่างกายล้วนๆ พอเข้าใจ อธิบายได้ แล้วก็แก้ไขเอาเอง หรือหาครูช่วยแก้ให้ครับ
7. อย่าไปพะวงกับ 'การสอบ' กิจกรรมฟรีไดฟ์ก็เหมือนการดำน้ำทั่วไปสมัยนี้ คือ มันคือ 'กิจกรรม' เพราะงั้น มันคือการ 'ทดสอบ' มากกว่าสอบ เรียนไปดำเล่นไม่ใช่เอ็นทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย หรือสมัครเข้า Top U เมื่อเรียนมาแล้วก็ต้องลองลงดู คิดซะว่าไปซ้อมเล่น อย่าคิดว่าไปสอบ พอเครียดว่าต้องไปสอบๆๆๆๆเอาบัตรก็เริ่มนอยด์ กังวลไปหมด พอเริ่มกังวล ทีนี้อะไรก็รั่ว นึกอะไรไม่ออก เทคนิคไรที่เรียนมาก็ลืมหมด
8. สำหรับนักกีฬา หรือคนเรียนครู อย่าไปคิดว่าไปแข่ง อย่าไปคิดว่าไปทำสถิติ อย่าไปคิดว่าต้องรีบเรียนให้จบ
ก่อนไปทดสอบ แน่นอน เราควรพยายามเตรียมตัวให้ดีที่สุดอยู่แล้ว พอถึงวันจริง ก็แค่ทำให้ดีที่สุดเท่าที่ร่างกายพอเราไป ส่วนจิตใจเก็บไว้เงียบๆ (กระซิกๆ)
9. ลองนึกทบทวนดู ว่า ณ จุดไหน คือ 'จุดอ่อน' ของเรา เช่น มีปัญหาที่หูที่ความลึก 12-13เมตร หรือ เริ่มอึดอัดที่ 20-22เมตร หรือ contraction มาเร็วกว่าปรกติที่เวลากี่นาที ลองจด logbook ดูแล้วแก้ปัญหา ทีละจุด 'อย่าแก้ปัญหาทุกอย่างพร้อมกัน' มันจะมั่วกันไปหมด
ไม่ต่างคนที่กำลังรักษาโรคแทรกซ้อนน่ะครับ คุณหมอยังต้องแก้ทีละอาการ รักษาตามอาการทีสำคัญก่อนหลัง ต้องรู้ก่อน ว่าอาการของเราเกิดที่ไหน เกิดตรงไหน เกิดอะไร เพราะแก้แล้วอาจจะไปกระทบอีกอาการ
...
ผุ้ชายส่วนใหญ่จำวันเกิดแฟนไม่ได้ ไม่ใช่เพราะ 'ใจ' ไม่ได้รัก... แต่ 'ความจำ' มันไม่ค่อยดี (แฮร่..)
ผู้ชายหลายคนเลยต้องเม็มวันเกิดแฟนใส่มือถือไว้
เทคนิคที่อยากแนะนำคือ ลองลืมวันเกิดแฟนซักครั้งสิครับ
รับรอง.. จะไม่ลืมอีกเลย..
...
เหมือน freediver แหละ
ก็รู้อยู่แล้วว่าฟรีไดฟ์เป็นเรื่องของร่างกาย แต่ไม่ค่อยชอบจำ
ลงทะเลครั้งแรก ลองสับฟินพุ่งลงลึกๆพุ่งขึ้นเร็วๆสิครับ
รับรอง... จะไม่ลืมอีกเลยว่า..
'ความจำ' ไม่สำคัญเท่า 'จิตใจ'
The Author is Freediver Instructor Trainer
Comments