top of page

แอดว๊ง แอดวานซ์เนี่ย.. เค้าเรียนอะไรกันเหรอ? Advanced Freediver Training


ไม่ใช่ทุกคนที่อยากเรียนต่อไปเรื่อยๆครับ หลายคนได้ทำความรู้จักกับฟรีไดฟ์แล้วก็รู้สึก.. อ่ะ พอละ แต่ก็มีอีกหลายคนที่อยากลงลึกให้ไกล บั๊บว่า..ไปให้มันสุด มีคำถามเสมอว่า ‘ ครูๆ แล้ว แอดว๊านซ (level 2) เค้าเรียนอะไรกันอ่ะ ’ ส่วนใหญ่ผมก็ตอบไปแบบเหมาเข่ง คือ ‘ ก็ลงไปให้ลึกอีกหน่อย อึดให้มากขึ้นจิ ’ ที่จริงไม่ใช่ความลับอะไรหรอกครับ เรื่องมันยาว แต่จะเล่าให้สั้นๆละกันนะครับ

การจะลงไปให้ลึกอีกหน่อยได้ ไม่ใช่อยู่ๆจะพรวดลงไปได้ หรือถึงแม้อาจจะได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ดี (ต้องลงไปอย่างน้อย ประมาณ 20 – 30เมตร แล้วแต่ Agency ไหนกำหนด) เพราะฉะนั้น การลงลึกจึงเน้นเทคนิคการลง ซึ่ง ใช้ร่างกาย น้ำหนักตัว การคำนวณน้ำหนักตะกั่ว การคำนวณความหนาของ wetsuit การคำนวณเวลา ควบคู่วางแผนความลึกที่จะลง และการฝึกการใช้อุปกรณ์ควบคู่กับ safety และ buddy skills

ในเฟสของการวอร์มร่างกาย สิ่งที่ครูจะสอนคือ ความสัมพัทธ์ของร่างกาย (Relative Physiology of Static & Dynamic Disciplines) เช่น การทำ Stretching ( โยคะบกที่เน้นการบริหารช่องปอด ) การฝึกโดยใช้สัดส่วนของ ระยะความลึกที่ทำได้ทะเลสัมพัทธ์กับการกลั้นหายใจ ในบริบทของการฟรีไดฟ์แบบต่างๆ เช่น..

ถ้าเรากลั้นหายใจได้ 1 นาที (Static Apnea) ควรมีค่า = 20เมตร CWT (ทะเล) = 30 เมตร DYN (สระ) = 40 เมตร DNF (สระ)

สูตรเหล่านี้ ก็มาจากการศึกษาร่างกายของมนุษย์เราเอง ว่าควรทำอะไรได้มากน้อยขนาดไหน ไม่มี Dive Agency ไหนนั่งเทียนเขียนขึ้นมาเองหรอกครับ นอกจากนั้นที่ความลึก (Depth Training) ต้องมาดูเรื่อง ปอด ความจุของปอด (Lung Volumn) การใช้ถังสำรองของปอดเพื่อการลงด้วย FRC ที่ปลอดภัย

โดยตารางการฝึกในระดับ Advanced จะยึดการหายใจที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพเป็นหลัก แล้วเพิ่มค่าพิกัดความสามารถ (Personal Capability) แยกออกไป ตามรูปแบบ (Disciplines) ต่างๆที่กล่าวมา หรือทราบกันอยู่แล้วจาก Level 1

อีกเรื่องคือ Hypoxia และ Hypercapnia workouts หรือ เรียกง่ายๆว่า การฝึกให้ร่างกายทนภาวะการมี อ๊อกซิเจนน้อย (Low on Oxygen) และ ภาวะการมีคารบอนไดอ๊อกไซด์สูง (Excess Carbon dioxide) ซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ จึงฝึกมั่วไม่ได้ บางคนอึดหรือกลั้นหายใจได้เก่งแต่ทำระยะได้ไม่ดี ก็ฝึกแบบนึง บางคนทำระยะได้ดีแต่ไม่่อึดเท่าไหร่ ก็ฝึกอีกแบบนึงสิ


การทำระยะการหายใจบนผิวน้ำสั้นลงเรื่อยๆ หรือการทนให้กระบังลมสร้าง Contraction แบบยืดระยะและรูปแบบออกไป ซึ่งครูจะสอนให้เลือกใช้ O2 / CO2 Table หรือ Pyramid Series ประกอบด้วย

1. การฝึกแบบ Static / Warm-up Dynamic / Speed Dynamic ในรูปแบบต่างๆ

2. การฝึก Contraction Management หรือ การบริหารระยะ (เมตร) ที่ได้ ให้สัมพันธ์การเพิ่มความเร็วในการไปให้ถึงระยะนั้นโดยใช้ความรู้สึก (psychological hook) และเทคนิคการ 'Kick & Glide'

3. การฝึก 'บีบระยะ' 'บีบเวลาในน้ำ' 'บีบเวลาบนผิวน้ำ' (Dynamic Pragmatic) เช่น ทำระยะ 30 เมตรให้ได้ในเวลาหายใจก่อนลง (Departure time) ที่สั้นลงเรื่อยๆ และ การเพิ่มระยะมากขึ้นช้าๆ ในแวลาหายใจเฟส Recovery ที่คงที่ (Fixed or Shorter Recovery Time)


ในส่วนของความลึก แน่นอน จะลงลึกได้ ' มันไม่ใช่แค่เรื่องของปอดละ ' แต่เป็นเรื่องของการเคลื่อนที่ของก๊าซ ซึ่ง O2 หรือ CO2 ก็เคลื่อนที่ไม่เหมือนกันละ เพราะปอดมีช่องอากาศใหญ่และเป็นฟองน้ำ(หรือ ฟองน้ำ ที่ยุบหนอพองหนอ) ส่วนช่องอากาศเล็กๆในร่างกายอื่นๆถูกซ่อนอยู่ในกระดูกหรือกระดูกอ่อน ( หรือ ของแข็ง ซึ่งไม่ยุบหนอพองหนอ ) วิธีการปรับความดัน (equalization) ก็เลยทำไม่เหมือนกันน่ะสิ ลองหาอ่านดูในนี้นะครับ มีสรุปย่อๆไว้

เมื่ออยากลงลึก ก็ต้องพยายามลงด้วย Frenzel หรือ Hand free แล้วถ้าถนัด Frenzel แต่ละเทคนิคการเคลียร์หรือไม่เคลียร์หน้ากาก (Mask Equalization) มีสูตรการคำนวณไม่เหมือนกันครับ เช่น ถ้าจะเล่น Sequential Frenzel ก็ได้ ตารางการลงลึก(หรือการฝึก)ก็จะค่อยๆลงครั้งละ 5-10เมตร ตามตารางแบบนี้


DP(m.) Pressure (bars) CPD Training Pressure MTD (m.)

10 2 x 2 4 30

15 2.5 x 2 5 40

20 3 x 2 6 50

DP = Depth Charge หรือ ความลึกที่ฝึก

CPD = Constant of Direct Proportionality หรือ ค่าคงที่ของการฝึก โดยปรกติอยู่ที่ สองเท่า (แบบ Mask Equalization) หรือ 2.5เท่า (แบบ Without Mask Equalization) แต่เพิ่มขึ้นได้ทีละครึ่งเท่าเมื่อ Personal Best หรือ Personal Capability เพิ่มขึ้นแล้ว 25%

MTD = Maximum Training Depth (สำหรับแต่ละระดับขั้น หรือ ระดับเป้าหมายลึกสุดที่จะลง)

...

พอมาเรื่องเคลียร์หู... มานั่งบีบจมูกคงไม่ไหวละ

ความยากของ Frenzel คือการเอาลิ้นไปจุกกระเดือก (Glottis) เพราะมันค่อนข้างฝืนธรรมชาติเวลาเรากลับหัวลงและขยับลิ้นไปพร้อมกัน ทุกตำราในระดับนี้จึงบอกให้ฟรีไดฟ์บ่อยๆ เพราะร่างกายกล้ามเนื้อจะเริ่มจำได้เอง (muscle memory) ถ้าเป็นแบบนั้นเรื่องลงลึกก็ไม่ได้ยากอะไร


สิ่งที่สำคัญ ก็คือ อัตราการลงน้ำ และ การขึ้นสู่ผิวน้ำ รวมถึงการรีแลกซ์ใต้น้ำ ซึ่งแน่นอน เป็นเรื่องของการควบคุมความเร็ว (Descending Speed Control) เพื่อเลี่ยงการหมดสติขณะขึ้นสู่ผิวน้ำ (Shallow Water Blackout) เพราะร่างกายที่ขึ้นลงเร็วเกินไป อยู่นานเกินไปใต้น้ำ ใช้อ๊อกซิเจนมาก (Replenish) จะเกิดภาวะที่ Partial Pressure ของอ๊อกซิเจนในร่างกายต่ำกว่าระดับที่เราทนได้ที่ 0.1 เรื่องราวเป็นอย่างไรต้องดูที่อัตราการขึ้น และอัตราการลงที่ควรจะเท่าๆกัน

การทำ Stretching ใต้น้ำโดยการเอาขาพันเชือก (Drop line) เพื่อสร้าง Hydro Dynamic Effect (Relaxation) การเคลียร์หูในน้ำลึกก่อนการขึ้นสู่ผิวน้ำหรือก่อนการดึงเชือกครั้งแรกที่ความลึก (Equalization on Descent) การนับ Arm Stroke หรือ โดยใช้ไดฟ์คอม (Time Management)

...และ การใช้อุปกรณ์ให้เป็น (Equipment Rigging) ต่อไปต้องฝึกไปซ้อมเองแล้ว ทั้ง Bottom Plate, Safety Lanyards, Knots, Bouys ใช้อย่างไรใช้เพื่ออะไร

....

ความลึกที่ 10เมตร.. ใครๆก็ลงได้ครับ

แม้แต่ความลึกที่ 20เมตรเนี่ย ใครๆก็ลงได้เหมือนกัน

ชาวเล ชาวประมง หรือเด็กเรือ ทุกวันนี้เค้าก็ลงกันชิลๆ

แต่ถ้าจะเสียเงินมาเรียนต่อแล้ว ควรเลือกได้ว่าจะลงแบบ...บี้หูเราลงไป ให้ได้บัตร

หรือ ..ลงได้แบบสนุก ถูกต้อง ปลอดภัย ..พร้อมๆกับทำความรู้จักกับร่างกายของเรา

ตั้งแต่ที่สระ มาถึงที่ทะเล

ก็เพื่อให้เราได้สนุกกับการฟรีไดฟ์จริงๆ

ดีกว่ามั้ยครับ


:)

The Author is Freediver Instructor Trainer

#Freediving #ฟรีไดฟ์ #ฟรีไดฟ์วิ่ง

Commenti


about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page