top of page

อวบแล้วไง ฟรีไดฟ์ด้วยใจ ไม่ได้ใช้พุง


เรามักชินตากับภาพนักกีฬา Athlete / Competitive Freediver ที่หุ่นดีมีซิกแพค หรือฟรีไดฟ์เวอร์สาวขาเรียวยาว ด้วยภาพที่สื่อออกไปในหลายปีที่ผ่านมา ทำให้คนทั่วไปคิดว่าฟรีไดฟ์เวอร์ต้องเป็นคนหุ่นเป๊ะเท่านั้น ห้ามอวบ ต้องมีกล้ามเป็นมัดๆ ต้องออกกำลังกายบ่อย ฟิตร่างกายเสมอ...

ทั้งหมดนี้ สาระส่วนใหญ่เป็นแค่มายาคติ และมโนไปเองซะมากกว่าครับ

courtesy of certified PADI Freediver

สาวญี่ปุ่น หรือ อามะ เค้าดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ก่อนเรามาหลายร้อยปี ส่วนหนึ่งของความเชื่อสมัยโบราณที่ใช้ได้กันมาต่อเนื่อง นั่นก็คือ ผู้หญิงอายุมากหน่อย มีไขมันสะสมรอบตัว จะดำน้ำได้ดีกว่าผู้ชาย ทุกวันนี้เค้าก็ยังดำน้ำกันอยู่ และความเชื่อแบบเดียวกันก็ใช้กับเฮียนโยนักฟรีไดฟ์ระดับตำนานที่เกาะเชจู ผู้หญิงล้วนเหมือนกัน

สมมุติว่า ถ้าเราสงวนให้คนผอมเท่านั้นที่จะฟรีไดฟ์ได้?

สำหรับคนที่ผ่านการเรียนฟรีไดฟ์มา อ้างอิงทฤษฏีเรื่อง mammalian diver reflex ที่ใช้อธิบายกิจกรรมฟรีไดฟ์ทุกหลักสูตร คำถามคือ แล้วทำไมวาฬซึ่งมีแต่ไขมันเต็มร่างถึงกลั้นได้เป็นวัน? ทำไมแมวน้ำถึงอึดลงลึกได้นานขนาดนั้น?

ama divers, Japan

คำว่า ‘ฟรีไดฟ์’ ปัจจุบันถูกถือครองเป็นสมบัติส่วนตัวโดยเทรนด์และภาพสวยไปทั้งหมด ทำเราให้ละเลยข้อเท็จจริง และบริบทที่สำคัญที่สุดของการฟรีไดฟ์ที่เรารู้จักการดีว่า กิจกรรมฟรีไดฟ์มันคือ การกลั้นหายใจ (breath-hold)

เมื่อเกี่ยวกับการกลั้นหายใจ แปลว่าความหมายส่วนหนึ่งคือ เราจะทำยังให้ระบบเผาผลาญในร่างกายเราทำงานน้อยที่สุดเวลาเราที่เราไม่ได้หายใจ

การฟรีไดฟ์ที่ดี คือการลด metabolism ของร่างกายให้มากที่สุดในเวลาสั้นๆที่เรากลั้น

ส่วนหนึ่งก็คือ การเคลื่อนไหวร่างกายให้ช้าลง หรือ ไม่เคลื่อนไหวเลย

...

คนที่ฝึกฟรีไดฟ์มาจะทราบดี ว่าการเคลื่อนไหวช้าๆเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากของการฟรีไดฟ์ เพราะกล้ามเนื้อส่วนต้นขาที่ใช้ในการตีฟินเป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ (Quadriceps) ทำให้ใช้ oxygen เยอะ การตีฟินที่ถูกต้องสวยงามที่แท้ทรูจึงหมายถึงการใช้กำลังจากต้นขาน้อยแต่มีประสิทธภาพ วาดขาเบาๆ ปล่อยแรงพลิ้วๆ เพื่อใช้กล้ามเนื้อถูกส่วนมากที่สุดเพียงส่วนเดียว

สำหรับ Aerobic Exercise ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง หรือการฝึกว่ายน้ำแบบที่ใช้ร่างกายไปกับการใช้กล้ามเนื้อน่อง เข่า ข้อเท้า (ทั้งท่าฟรีสไตล์ กบ หรือ ผีเสื้อ) ขณะที่เราสามารถโผล่ขึ้นมาหายใจได้ตามปรกติ (Normal Oxygen Intake) จึงเป็นการ cross-training ที่ไม่ได้ช่วยอะไรกับการฟรีไดฟ์ซักเท่าไหร่ กลับเป็นการสวนทางกับการกลั้นหายใจและอยู่นิ่งๆโดยสิ้นเชิง

การออกกำลังกายแบบ cross training ที่ถูกต้องคือการบริหาร Thoracic muscle หรือกล้ามเนื้อที่อยู่รอบซี่โครงเพื่อปรับให้กล้ามเนื้อ กระดูก และปอดพร้อมรับกับความยืดหยุ่นมากกว่า

...

เราทราบกันมานานแล้วครับว่า ไขมัน (polyunsaturated, monounsaturated fat, และ saturated fat) กับ ความอวบ (obesity) มันคนละเรื่องนะ

ความอวบ (obesity) แน่นอน อาจจะไปลดความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายได้ในน้ำ (hydrodynamics)

ความอวบ แน่นอน อาจจะใช้ O2 เยอะกว่าคนปรกติสำหรับกิจกรรมบนบก

แต่ประเด็นคือ.. การฟรีไดฟ์ไม่ใช่การว่ายน้ำ แทบไม่ได้ออกแรง(ถ้าฝึกจนเก่ง) แล้วเราก็ไม่ได้หายใจขณะฟรีไดฟ์นิ ?

คนที่มี body mass index สูงนิด ถึงไม่อ้วน ก็ยังมี metabolism ต่ำโดยธรรมชาตเมื่อกลั้นหายใจ ทำให้การใช้ Oxygenที่หมุนเวียนในเซลล์ฌม็ดเลือดแดงของร่างกายต่ำไปด้วยเมื่อไม่ได้เคลื่อนไหว นอกจากนั้น คนที่มีร่างกายใหญ่ย่อมมีปริมาณเลือดในร่างกายสูงกว่าโดยธรรมชาติ ซึ่งแน่นอน เซลล์เม็ดเลือดแดงก็มากกว่าตามไปด้วย น่าจะดีซะอีก

...

ไขมัน ไม่ว่าจะแบบไหน ก็คือ องค์ประกอบทางเคมีที่มีคาร์บอนกับไฮโดรเจนเหมือนกันทั้งนั้น จะมาก จะน้อย ก็ไม่ได้กระทบกับการฟรีไดฟ์มากนัก

ถ้าเรากระตุ้น Dive Reflex ได้แล้ว ไขมันในร่างกายที่มีพอสมควรกลับจะช่วยเรื่องการเคลื่อนที่ของเลือดจากส่วนที่ร่างกายไม่ต้องการไปยัง ปอด หัวใจ สมอง (Vasoconstriction) ซึ่งไปช่วยลดความเสี่ยงจากการขาด Oxygen จนเกิด hypoxia ซะอีก

...

ความอวบของ สาวอามะ และสาวเฮียนโย รวมถึงชาวประมง (spearo / spearfisher) ทั่วโลกที่เค้าลงได้อึด ทน นาน ในน้ำที่เย็นจัด ส่วนหนึ่งก็เพราะไขมันของเค้านี่แหละครับ ลองหาดูได้ ฝรั่งไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายที่ลงได้ลึกๆลงได้นานๆ 'ตัวใหญ่ๆกันทั้งนั้น'

ฟรีไดฟ์ เป็นกีฬา และเป็นกิจกรรมครับ แต่เราไม่จำเป็นต้องมีหุ่นเหมือนนักกีฬาถึงจะฟรีไดฟ์ได้

..และแน่นอน กีฬาฟรีไดฟ์ ก็มีความเสี่ยง ไม่ว่ากับใคร

แต่เป็นความเสี่ยงที่ต้องศึกษาก่อน

เพื่อให้รู้จริง

จะให้ได้สนุกกับมันได้อย่างสนุกสนาน และปลอดภัย

...แบบที่ใครๆก็ทำได้ครับ

:)

The Author is Freediver Instructor Trainer


Comments


about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page