top of page

เลือดข้น.. คนจาง Food for Freediver


ผมมักบอกน้องๆที่กำลังจะไปสอบ freedive เสมอ ว่า ‘อย่ากินเยอะนะ เด๋วอ๊อก’ พูดบ่อยจนมีคำถามแซวกลับมาว่า ‘แล้วจะให้กินไรคะ?’ หรือ ‘ต้องอดข้าวถึงจะสอบผ่านเหรอครับ?’ จริงๆแล้วไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับ เรื่องของเรื่องคือ คนที่ยังไม่เคยลงน้ำที่มีระดับความลึก หรือกำลังจะลงครั้งแรก มักจะปรับตัวได้ยากหน่อย ความตื่นเต้น ตื่นทะเลก็มีส่วน ความกังกลก็มีส่วน และแน่นอน เรื่องของอาหารการกินก็มีส่วน

Credit: ISSARA MV Liveaboard - Chill Journey

ปรกติแล้วเวลาเราจะไปดำน้ำแบบ Freedive ถ้าไม่ได้ลงลึกมากและไม่ได้ดำต่อเนื่องกันนานหลายครั้งมาก (repetitive dives) ก็เลือกทานพวกโปรตีน หรือคาร์โบไฮเดรตบางประเภทได้ตามสมควรที่ร่างกายต้องการครับ แต่ถึงเวลาที่เราจริงจังมากกับการ Freedive ที่ระดับความลึกเกิน 15m หรือ มีต้องดำน้ำแบบที่ขึ้นลงบ่อยมากในแต่ละวัน เช่นกลุ่มนักกีฬา ครูฝึก หรือพวก spearfisher จะมีทางเลือกวิธีการฝึกให้เลือกรับประทานอาหารที่ทำให้ 'เลือดข้น' เต็มไปด้วยด่าง เราเรียกการควบคุมอาหารลักษณะนี้ว่า (Alkaline Diet) ครับ

การรับประทาน หรือการควบคุมลักษณะ “อาหารด่าง” (Alkaline Diet) หรือหลายคนรู้จักกันว่า เป็นควบคุมน้ำหนักแนว'เซเลป'

เล่าง่ายๆทวนความรู้วิทยาศาตราร์ม.2 นะครับ ค่า pH โดยค่าที่เป็นกลาง หรือ ค่าความเป็นกรด-ด่างที่ร่างกายต้องการ (pH Balance) ปรกติจะอยู่ที่ 7 ถ้าหากค่าต่ำกว่า 7 ลงไป สิ่งนั้นมีความเป็นกรด ในทางกลับกัน ถ้าค่า pH มากกว่า 7 ขึ้นไปก็จะมีความเป็นด่าง ร่างกายคนเราจะค่อนข้างไปทางด่างครับ คือจะมีค่า pH ประมาณ 7.4 +/-0.05 ซึ่งจะทำให้กระบวนการทำงานในร่างกายจะเป็นไปอย่างปรกติ แต่ถ้าสภาพร่างายเรามีความเป็นกรดมากไป เราก็จะมีอาการ เหนื่อยง่าย (fatigue) หนาวสั่น (frequent colds) หายใจไม่ค่อยออก (congestions) กังวล (nervousness) ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตะคริว (muscle pain or cramp)

แล้วนัก Freediver ได้อะไรจากภาวะร่างกายที่มีความเป็นด่างมากกว่าปรกติ?

อธิบายง่ายๆดังนี้นะครับ

ในระหว่างการเตรียมตัว หรือการไป Freedive ร่างกายไม่ต้องการความเข้มข้นของกรดสูงนัก เพราะเลือดที่มีความเป็นกรดสูง จะเกิดสภาวะที่เราเรียกว่า Metabolic Acidosis ที่เกิดจากการเผาผลาญเซลล์ที่ในภาวะที่เป็นกรดสูง ถึงจะทำให้ความเข้มข้นของ CO2 ในเลือดต่ำลง แต่ทำให้เนื้อเยื่อในร่างกายดูดซึมอ๊อกซิเจนได้ต่ำกว่าปรกติถึง 15-20เท่า

เมื่อเราเพิ่มความเป็นด่างในเลือดโดยการทานอาหาร ร่างกายก็จะสามารถเพิ่มการดูดซึมของออกซิเจนได้ดีขึ้น และเซลล์เม็ดเลือดสามารถเก็บออกซิเจนได้มากขึ้น กฏของ Bohr (เริ่มยากอีกละ..) บอกว่าเมื่อความเป็นด่างในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เซลล์เม็ดเลือดแดงจะอิ่มตัวด้วยออกซิเจนมากขึ้นเรื่อยๆ (จากความดันสัดส่วนหรือ partial pressure ของอ๊อกซเจนที่ระดับต่างกัน) ถึงแม้เรายังไม่สามารถเอาอ๊อกซิเจนเหล่านั้นมาใช้ได้ทั้งหมดก็ยังดีกว่าไม่ได้ใช้เลย (ปัญหาเดียวกับเรื่อง hyperventilation)

เมื่อระดับ CO2 เพิ่มขึ้นในระหว่างการดำน้ำแบบอึดเดียวของ freediver ความเข้มข้นของ H+ (ไฮโดรเจนไอออน) (หรืออีกชื่อหนึ่ง ก็คือ กรดที่ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ของเลือด) ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน และยิ่ง H+ มากขึ้น ก็หมายถึงเลือดข้นไปด้วยความเป็นกรดมากขึ้น และค่า pH ในเลือดลดลง และเมื่อเจอสภาวะแบบนี้ ร่างกายจะสัญญาณไปที่สมองของว่าต้องหายใจ ‘เร็วขึ้น’ หรือ ‘ลึกขึ้น’

การรับประทานอาหารที่เป็นด่างสูงจะช่วยเพิ่มค่า pH ในเลือดของ freediver ครับ เพราะจะทำให้เรามีความทนทานต่อ CO2 สูงขึ้น การทนทานต่อความอึดอัดจาก CO2 ก็จะช่วยชะลอความอยากอากาศ (urge to breathe) เหมือนกับการฝึกโดยใช้ตาราง CO2 ที่เราคุ้นเคยกัน อาหารด่างไม่ได้ส่งผลต่อการเก็บออกซิเจนโดยตรง แต่ทำให้ การหดตัวของลิ้นปีหรือช่องท้องเกิดได้ช้าลงครับ (Delayed Contraction) เพราะการอยากอากาศ (urge to breathe) แท้จริงแล้วไม่ได้เกิดจาก CO2 โดยตรง แต่เกิดจากการที่ร่างกายพยายามที่จะปรับสมดุล (Balance) หรือทดแทน (Compensate) สภาวะ metabolic acidosis โดยการขจัด H+ (ไฮโดรเจนไอออน) ส่วนเกินที่เพิ่มจากการดำน้ำแบบ freedive ที่ลึกและยาวขึ้นต่างหาก ซึ่งกระบวนการปรับสมดุลนี้ ก็คือการขับดัน H+ (ไฮโดรเจนไอออน) ผ่าน CO2 ดันมันออกทางปอดนั่นเอง

โดยทั่วไป เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า อาหารที่ดีต่อสุขภาพ คือ อาหารที่ทำให้เกิดของเสียที่มีค่าเป็นกรดน้อยที่สุด หรืออาหารที่ทำให้เกิดสภาวะเป็นด่าง ของพวกนี้หาอ่านได้จากสารพัดบทความครับ สัดส่วนที่ควรทาน 24ชม ถึง 36ชมก่อนการเตรียมตัว freedive แบบลึก (recreational deep dive) ก็คือประมาณ 90:10 (อาหารด่าง ต่อ อาหารกรด) ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูง ต้องมีวินัยในการรับประทานมาก

จริงๆแล้วอาหารด่างเหล่านี้แล้วหาได้ไม่ยากเลยครับ เราก็คุ้นเคยกันทั้งนั้น ก็อาหารประเภทผักและผลไม้ สาหร่าย หน่อไม้ฝรั่ง แตงกวา มะเขือเทศ หัวหอม ขึ้นฉ่าย แครอท ฟักทอง มะนาว ส้ม สับปะรด กีวี เชอร์รี สตรอว์เบอร์รี แตงโม กล้วย (อันนี้ freediver ชอบมาก) แอปเปิล อโวคาโด หรือแม้แต่ช๊อกโกแลต โกโก้ ก็ยังถือเป็นอาหารด่างนะครับ (ที่ว่ามา อาหารหลายอย่างอาจฟังดูเปรี้ยว แต่อาหารด่างไม่ได้วัดกันที่รสชาด แต่วัดกันที่ เหลือกรด หรือเหลือด่างให้กับร่างกายมากน้อยขนาดไหน เมื่อย่อยเรียบร้อย)

เล่ามายาวเหยียด.. ก็ย้อนกลับมาที่เดิมละครับ

คือ..ถ้าเราไม่ได้ลงน้ำบ่อยๆ หรือ เตรียมตัวดำลึกมากๆ ก็คงไม่มีอะไรต้องไปเครียดกับการรับประทานนัก

เพราะบนเรือตอนไปออกสอบ freedive ไม่ว่าไปกับลำไหน ก็ยังเสริฟบุ๊ฟเฟ่ต์อาหารกลางวันจัดเต็มเหมือนเดิม ทั้งขนมจีนน้ำยากะทิ ไข่เจียวฟูฟ่อง ซี่โครงหมูทอด ไส้กรอกทอด .. แถมบางลำมีไอติมอร่อยๆ บางลำมีเฉาก๊วยให้ล้างคอหลังจากขึ้นจากทะเลซะอีก

..แล้วอย่างนี้ จะไปคิดมากทำไมเนอะ (เดี่ยวจะกลายเป็น freedive เป็นเรื่องวุ่นวายซะเปล่า)

จริงมั้ยครับ

The Author is PADI Master Freediver Instructor


about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page