ไปให้สุด.. แล้วหยุดที่ปอด Deep Training
‘อ้าววว รีบขึ้นมาทำไม’ … ‘ ครูๆ ก็หนูอากาศหมด ‘ อากาศน่ะไม่หมดหรอกกก.. หลายคนสงสัย ตอนอยู่บนบก กลั้นได้ตั้ง 2-3นาที พอครูพาลงน้ำครั้งแรก โผล่พรวดตะเกียกตะตายขึ้นมาเหมือนปลาดุกขาดน้ำ ‘ ก็ไหนครูบอก อากาศเหลือเยอะแยะ ผมอึดอัดจะตาย อยู่ไม่ได้หรอก ’ (อัลไลฟระ มีต่อว่าตรูอีก) ... วันนี้จะอธิบายเรื่องของไอ้เจ้า ‘ความอึดอัด’ นี่ให้ฟังซักหน่อยละกันเนอะ
การฝึกให้ลงทะเลได้ลึก (Deep Training) จริงๆแล้ว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสารพัดตารงตารางอะไรเท่าไหร่เลยครับ ไม่ว่าจะเป็น O2 Table หรือ Co2 Table นักวิทยาศาตร์ทางกีฬาทราบดีว่าการฝึกโดยใช้ตารางพวกนั้นเป็นการฝึกเพื่อการทำ Dynamic หรือ Static Apnea ในสระซะมากกว่า (Pool Training / Competition) ก็อาจจะช่วยความอึดบ้างในทะเล แต่ไม่ได้ส่งผลกับการลงได้ลึกโดยตรง
สิ่งที่ทำให้เราลงลึกได้โดย ชิลๆ ไม่อึดอัด ส่วนใหญ่ อยู่ที่ใจ (psychological state) และการค่อยๆรู้จักและก้าวข้ามขีดจำกัดของร่างกายตัวเองมากกว่า (personal limitation)
หนึ่งในขีดจำกัดนั้น คือ ‘สรีระและการทำงานของปอดเรา’ นี่เองครับ (ไอ้ที่อึดอัดน่ะ ก็อยู่ตรงปอดนี่แหละ)
ก่อนอื่น มาเข้าใจกันก่อน ว่าทุกๆ 10เมตร ความดัน(ความจุก)ก็เพิ่ม 1เท่า ลงไป 20เมตร ก็จุกเพิ่ม 2เท่า ไปเรื่อยๆแบบนี้ เมื่อจุกก็ควรจ่ายออกมา โดยการเคลียร์หู สร้างสมดุลโดยเอาแรงจุกจากข้างในปอด และข้างนอกจากทะเล ให้มันสูสีกัน ชีวิตมันก็อยู่ได้
ถ้าลงไม่ลึกมาก วิธีไหนก็พอๆจะลงได้ แต่ถ้าอยากลงลึกมากๆ ต้องมารู้จักสรีระของปอดเราเองก่อน เพราะยิ่งลงลึกๆๆๆ ปอดยิ่งฟีบบบบบ (ก็โดนแรงดันบีบเหมือนกันไง) พอมันยิ่งฟีบบบบบ ก็ยิ่งอึดอัดน่ะสิ พอยิ่งอึดเพราะโดนทะเลอัด จะเอาอากาศจากไหนมาเป่ามันออกทางหูเราล่ะ ไม่ยากนะ ไปอ่านดูเรื่อง equalization จิ
ก่อนจะไปต่อ มารู้จักปอดเราก่อนมั้ย? ปอดของเราก็เหมือนฟองน้ำ ถุงลม มียุบได้ พองได้ มีใหญ่ มีเล็ก ถ้าจะเรียกปอดออกมาเป็นชื่อตามลักษณะของการที่เราหายใจเข้าไป รูปทรงของปอดของเราจึงเปลี่ยนไปตามลักษณะการหายใจได้ประมาณนี้ (..ไม่ยากหรอกครับ ทนอ่านหน่อย)
1. ปอดแบบ Tidal Volume ซึ่งก็คือ ลักษณะของปอดที่มีปริมาตรอากาศแบบเราหายใจอากาศตามปรกติบนบก (Normal Inhalation) ก็หายใจเฮือกๆเข้าออกตามปรกติ นะครับถ้าหายใจแบบนี้ปอดจะมีความจุเข้าไปประมาณ 0.4 – 0.6 ลิตร แตกต่างกันไประหว่างหญิงชาย
2. ปอดแบบ Inspiratory Reserve volume ปอดแบบนี้คือ ปริมาตรอากาศที่เราหายใจอัดเข้าไปมากกว่าหายใจตามปรกติแบบข้อ 1 (Forced Inhalation) ถ้าหายใจแบบนี้ ความจุขอปอดจะพองงงงขึ้นมาได้อีกถึง 2-3 ลิตร แตกต่างกันไประหว่างหญิงชาย
3. ปอดแบบ Expiratory reserve volume คือ ความจุของปอดที่เหลืออยู่ จากหายใจออกแรงๆ (Forced Exhalation) หลังจากที่หายใจเข้าปรกติ (Normal Inhalation) ความจุสำรองแบบนี้ทำให้ปอดมีอากาศเหลืออยู่ได้ 0.8 – 1.2 ลิตร แตกต่างกันไประหว่างหญิงชาย
4. ปอดที่มีเหลือแค่ Residual Volume อันนี้แหละ คือ ขนาดของปอดที่เหลืออยู่น้อยนิด หลังจากหายใจออกแบบแรงๆสุดๆ (Maximum Exhalation)
คำถามคือ อ้าวววววววว แล้วจะหายใจออกแรงๆทำไมล่ะ ไหนครูสอนแต่ให้หายใจเข้าเยอะๆ..
...ใจเย็นๆ โปรดอ่านต่อไป
ขนาดของ Residual Volume ตามหลักการแล้ว ฝึกไปเอาลงได้เล็กสุดถึง 20-25% ของขนาดความจุปอดปรกตินะครัช สังเกตสิ หายใจออกหมดแล้ว โดดน้ำ จมน้ำลงไป ยังไม่ตายเลย อยู่ได้อีกตั้งนาน ประเด็นสำคัญ คือ ตัวจมพรวดๆด้วย เพราะพออากาศไม่เหลือ ตัวก็ไม่ลอยแล้ว แถมแต่เรายังมีอากาศไอ้เจ้า 20-25%นี้แหละ ถือว่า พอเพียงกับการอยู่รอด (อ๊อกซิเจนในนี้ยังมีพอ) และ อากาศน้อยๆแบบนี้ นักดำน้ำก็ไม่อึดอัดด้วย เพราะอากาศน้อยก็ไม่ไปกวนกระบังลมหรือ diaphragm คราวนี้ก็ไม่อึดอัดแล้วไงง
คำถามคือ แล้วเราควรหายใจออก เพื่อให้เหลือใช้อากาศจาก Residual Volume เท่านั้นหรือไม่ คำตอบคือ ‘ใช่’ และ ’ไม่ใช่’
‘ ใช่ ’ คือ ถ้าฝึกเป็น (เด๋วว่ากันต่อ อ่านไปเรื่อยๆ)
‘ ไม่ใช่ ’ คือ ถ้าปริมาณของอากาศที่เหลือต่ำกว่า Residual Volume ..แฮร่ ถุงลม (Alveoli) ก็จะไม่ทำงานสิ (ไม่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ ระหว่าง O2 กับ CO2) เลือดก็จะไม่เดิน ความเข้มข้นของ O2 และ CO2 ก็เริ่มไม่สมดุลกัน จากนั้น ระบบการฟอกอากาศในร่างกายก็เริ่มล้มเหลว
เพราะงั้น เวลาเราบริหารปอด หรือบริหารอากาศ เราจึงควรเอาเรื่องของ Volume แบบต่างๆมาคิดนะครับ ว่าร่างกายเรามีความสามารถ (Capacity) ขนาดไหน ไอ้เจ้าความสามารถนี้เราแบ่งได้ดังนี้ครับ
1. Inspiratory Capacity ก็คือความสามารถของปอดแบบ volume ข้อข้างบน 1 + 2 หรือ พูดง่ายๆ คือ อะไรที่หายใจปรกติเข้าไป บวกกับ อากาศที่หายใจอัดออนท๊อปเข้าไปตามปรกติ แบบนี้ เอาไว้ใช้ skin diving หรือลงฟรีไดฟ์ขำๆสนุกๆครับ
2. Vital Capacity ก็คือ ความสามารถในการ อัดอากาศเข้าไปให้สุด และ หายใจออกให้มากที่สุด (Maximum Inhalation + Maximum Exhalation) หรือ volume ข้อข้างบน 1 + 2 + 3 นั่นไง เจ้าความสามารถนี้ แต่ละคนทำได้มากน้อยไม่เท่ากันนะครับ ขึ้นกับสรีระของแต่ละคน ผู้ชายจะได้ประมาณ 4-5ลิตร ผู้หญิง ประมาณ 3-4ลิตร (แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ชายจะดำน้ำเก่งกว่านะครับ) โดยทั่วไป การฟรีไดฟ์สายฟรุ้งฟริ้งปรกติ เอาแค่นี้พอแล้วววววว
3. Functional Residual Capacity อันนี้ไง เค้าใช้กันบ่อยๆ คือ ความสามารถของปอดหลังจากหายใจออกหมดตามปรกติ (complete normal exhalation) โดยทั่วไป ผุ้ชายจะมีประมาณ 3-4 ลิตร ผู้หญิง 1.2 – 1.8ลิตร อยากฟรีไดฟ์ลงลึกๆ เค้าจะใช้วิธีนี้ลงครับ (หายใจออกให้เกือบหมดก่อนลง รอจนถึง Residual Volume แล้วขึ้น)
4. Total Lung Capacity คือ เอาความสามารถข้อ 2 + 3 ซึ่งก็คือ ความจุของปอดหรือความสามารถรวมๆในการดำน้ำเรานั่นเอง
ทีนี้ ย้อนกลับมาเรื่องความอึดอัด ทำไมต้องอึดอัด?
ก็เพราะ ความลึกที่เราลงไม่สัมพันธ์กับปริมาณของอากาศที่เหลือต่ำกว่า หรือ Residual Volume ไง (ถ้ามันไม่พอ ก็แย่นะ อย่างที่บอก ย้อนไปอ่านจิ)
เราทราบอยู่แล้ว ปอดโดนบีบ ถ้ายิ่งลงลึกๆ
ที่ 0 เมตร ปอดมีปริมาตร 100% แต่ที่ 40เมตร ปอดเหลือ 20% … แปลว่า ที่ 40เมตร ความดันเพิ่ม 5เท่า ถ้าขนาดของปอดเรามีขนาด 3 - 9 ลิตร ปริมาตรของปอดทั้งหมดของเราก็เหลือ 0.6 – 1.8 ลิตรเอง
แปลว่าอะไร?
แปลว่า.. ระหว่างเราลงลึกถึง 40เมตร ถึงแม้ปอดจะโดนบีบ
ก็ไม่ได้ต่ำกว่า Residual Volume (20-25%) ไง
(ยังมีที่ให้อากาศอยู่เหลือเพียบ)
เพราะงั้นเวลาฟรีไดฟ์ ก็ไม่จำเป็นต้องหายใจเข้าไปเยอะก็ได้ 70-80%ของปอด (Total Lung Capacity) ก็หรูละ จะได้ไม่อึดอัด แล้วพอยิ่งลงลึก มันก็จะยิ่งสบายยยย พอถึงจุดที่เราเริ่มงง หรือ มี contraction นั่นแหละ ค่อยๆว่ายขึ้น
...
เพราะร่างกายต้องการทะเล เอ๊ยยย ต้องการอ๊อกซิเจน ไม่ได้ต้องการอากาศ
เอาอากาศลงไปเยอะๆ ไม่มีประโยชน์มากนัก
..มีแต่ก้นลอย ตัวลอย
สู้เรากินของดีๆ สร้างเม็ดเลือดแดงเยอะๆ ( แฮ่มมม.... )
อิ่มด้วย สบายด้วย
..ดีกว่านะครัช
The Author is Freediver Instructor Trainer
コメント