top of page

คันฟิน.. อยากแข่งฟรีไดฟ์ ทำไงดี? Entering Competitive Freediving

แค่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา Freedive พัฒนาตัวเองจากความเป็นกีฬา Extreme ความเฉพาะกลุ่มสำหรับคนไม่กี่คน กลายเป็นกิจกรรมที่ใครๆก็ทำได้เมื่อผ่านการฝึกและการเรียนกับคุณครูที่ได้รับอนุญาตให้สอนตามระดับของหลักสูตรที่ความลึกแตกต่างกันถูกต้อง


วันนี้ เมื่อเราเข้าถึงความถูกต้องในการฝึกมากขึ้น Freediver บางท่านจึงกำลังเดินจงกรมย้อนกลับไปสู่ความเป็นนักกีฬาอีกครั้ง





ปัจจุบัน มีอีเว้นต์การแข่งขันเพิ่มขึ้นครับ โดยทั่วไป การแข่งขันที่ได้มาตราฐานจะได้รับหรือสามารถขอรับการรับรองมาตราฐานโดย World Confederation of Underwater Activities หรือในอีกชื่อคือ Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques (CMAS) ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาตที่ควบคุมดูแลระบบการจัดการ กฏกิตกา มารยาทของ กีฬาทางน้ำ กีฬาใต้น้ำ การพัฒนาวิทยาศาสตร์ทางการกีฬาทั้งหมดที่เกี่ยวกับการดำน้ำ ในที่นี้รวมถึง Fin-swimming, Freediving และ SCUBA หรือ การดำน้ำลึกด้วยครับ สมาคมกีฬาทางน้ำหรือดำน้ำระดับประเทศทั่วโลกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกขององค์กรนี้ทั้งนั้น รวมถึงประเทศไทยด้วย องค์กรนี้เรียกว่าเหมารวมหมดทุกอย่างสำหรับกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวกับการดำน้ำ


อีกองค์กรนึงที่เน้นทาง Freediving เป็นหลัก คือ Association Internationale pour le Développement de l'Apnée (AIDA) ซึ่งเป็นองค์กรที่เน้น จัดกติกาในการแข่งขัน การรับรองการแข่งขัน เก็บสถิติในการแข่งขันกีฬาที่เกี่ยวข้องกับ breath holding (การกลั้นหายใจ) หรือ apnea ครับ และองค์หนึ่งคือ World Series Freediving (WSF) อยู่ที่ Queensland, Australia จัดอีเว้นต์ทางสาย Australia และ Australiasia จัดกติกาในการแข่งขัน เป็นผู้จัด อบรมผู้ตัดสินและรับรองการแข่งขันเช่นกันทาง Southern Hemisphere



สำหรับองค์กรอื่นๆ เช่น PADI / RAID / SSI / NAUI / PFI / FII / Apnea Academy / Apnea Total กลุ่มนี้เน้นการเรียนการสอนหลักสูตรฟรีไดฟ์แบบ Recreational (สันทนาการ) เน้นการเรียนที่ถูกต้อง สนุกสนาน และปลอดภัย ไม่เน้นการผลักดันให้ผู้เรียนฝืนลิมิต ไม่เน้นการกดดันให้ตัวผู้เรียนทำในสิ่งที่ร่างกายยังไม่พร้อมที่จะทำได้ มีการกำหนดข้อจำกัดชัดเจน ว่า การเรียนแต่ละระดับควรมีเกณฑ์ความปลอดภัยอะไรบ้าง

ครับ.. จริงๆแล้ว มันคือ ' เกณฑ์ความปลอดภัย ' มากกว่า ' เกณฑ์การสอบผ่าน ' เช่น ถ้ากลั้นหายใจได้ 1.30นาที ก็ปลอดภัยพอที่น่าจะผ่าน Level 1 หรือ ลงลึกได้ 32 - 40 เมตรก็น่าจะจบระดับ Master Freediver หรือ Level 3 ได้






สำหรับคนที่เรียนฟรีไดฟ์ไปแล้ว เกิดนึกสนุก... บั๊บบบว่า คุณไปต่อได้อ่ะ อยากทราบว่าต้องทำยังไงบ้าง



ขอเล่าสรุปประมาณนี้ครับ



ไปแข่งที่ไหนดี ?


ปัจจุบันมีอีเว้นต์การแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ทั้งในและนอกประเทศ ทั้งแบบรับรองสถิติ และไม่รับรองสถิติ สำหรับ CMAS เอาแบบครีมๆเลยก็ World Championships แบ่งออกเป็นอินดอร์ และเอ๊าดอร์ มีปีละไม่กี่ครั้ง ส่วน World Cupsเป็นลักษณะแข่งเป็น Series คือมีผู้ชนะในอีเว้นต์ และแบบเก็บคะแนนไปเรื่อยๆตลอดปี เริ่มตั้งแต่กลางปีเป็นต้นไปจนถึงปลายปี สถานที่จัดก็มักมีไม่กีที่ที่ลงลึกได้เช่น เม๊กซิโก อียิปต์ อิตาลี ฝรั่งเศส ฮอนดูรัส


สำหรับมือใหม่ ถ้าจะลองแข่ง แนะนำให้ลองแข่งแบบเบาๆก่อน เอาแบบในประเทศ หรือประเทศใกล้ๆ มีหลายอีเว้นต์ครับ ทั้งที่ไทย บาหลี ฟิลิปปินส์ โดยเลือกอีเวีนต์แบบมีการเก็บสถิติแบบเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ ( อย่าเพิ่งฮึกเหิม แฮ่มมมม... )



เสียตังค์มั้ย ?


โลกนี้ไม่มีอะไรฟรีครับ แต่ละทัวร์นาเม้นต์ราคาไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ฟรี จนถึง 100-200 USD ต้องเห็นใจผู้จัดครับ ถึงจะมีสปอนเซอร์เป็นสินค้าฟรีไดฟ์สารพัด เค้าก็ต้องออกค่าโน่นค่านี่เพิ่มเติม ทั้งสถานที่ ค่าจ้าง Safety Freediver ต้องจ้างกรรมการมาตัดสินอีก(ซึ่งราคาไม่ใช่ถูก เพราะมีอยู่ไม่กี่คนที่ตัดสินระดับนานาชาติได้) ไหนจะกล้อง ช่างภาพ วีดีโอ และอุปกรณ์การแข่งขันและความปลอดภัยที่แสนจะราคาแพงอีก ส่วนใหญ่คนที่เป็นนักกีฬาเองจริงๆ หาตังค์ไปเองทั้งนั้นแหละครับ คนที่ดังหน่อยก็จะมีสปอนเซอร์มาช่วยบ้าง แต่ก็ไม่เยอะ ทำให้บางทีนักกีฬาก็ออกมาสอนบ้าง (หาค่าเดินทางไปแข่ง) แต่ก็ตารางสอนไม่แน่นอน เพราะ ช่วงเวลาการแข่งก็ครึ่งปี ฝึกก็อีกครึ่งปี ไม่ค่อยมีเวลาเหลือมาสอนแล้ว



สมัครอย่างไร ?


ไม่ยากเลยครับ ติดต่อผู้จัดสิ ถ้าเป็นอีเว้นต์แบบนานาชาติ ก็ลงทะเบียนที่ AIDA หรือ CMAS หรือบางครั้งกับผู้จัดโดยตรง (Organizer) ระบุว่าจะแข่งอะไรบ้าง ประเภทไหน อ้อ เดี๋ยวนี้ต้องมีบัตร Certification ว่าเรียนจบมาแล้วนะครับ อย่างน้อย Level 1 ขึ้นไป บางที่ก็ขอระดับ Level 2 แต่ก่อนไม่ได้ดูบัตร เพราะถือว่าเสี่ยงเอาเอง เดี๋ยวนี้ไม่ได้ละ ไม่ได้เรียนจริงจังมา สมัครไม่ได้ครับ ส่วนจะจบมาค่ายไหนมา ไม่สำคัญครับ



อยากชนะ ทำไงดี ?



อย่างแรก ฝึกสิครับ จะขนะก็ต้องฝึกแบบนักกีฬา สมาคมกีฬาทางน้ำในไทยมีเยอะ ส่วนใหญ่ก็ CMAS Thailand แต่หยุดแค่ Fin-swimming เพราะไม่มีโคช ปัจจุบันมีโคชจากรัสเซียอยู่แค่คนเดียวเท่านั้น (แค่นี้ทำอะไรก็ไม่ทันแล้ว)



การแข่งขันฟรีไดฟ์มีกติกาเหมือนกีฬาทุกประเภทครับ สิ่งที่แตกต่างจากกีฬาส่วนใหญ่คือ เพื่อความปลอดภัย นักกีฬาต้องกำหนดสถิติที่ดีที่สุดก่อน (Personal Best) แล้วแจ้งกรรมการ ถึงจะเริ่มลงแข่งได้ โดยทั่วไป อีเว้นต์ส่วนใหญ่ไม่ให้พยายามครั้งแรก ( 1st Attempt) เกิน 5-10 เมตร (ความลึก หรือ ระยะ) หรือ 5-30 วินาที จาก สถิติที่ดีที่สุด (Personal Best) ที่ได้รับการรับรอง (หรือมีหลักฐานมาโชว) เช่น จะแข่ง Dynamic ที่ 120เมตร ก็ต้องบอกเค้าก่อนว่า ดีที่สุดคือ 110-115เมตร หรือ จะลงทำสถิติที่ลึก 90เมตร ก็ต้องโชวกรรมการเค้าได้ว่า 85-87 เมตรลงได้มาแล้ว หรือ จะกลั้นหายใจ 8นาที ก็ต้องมี 7.30ให้กรรมการเค้าดูหน่อย เด๋วไม่เซฟ

วันนี้ฟรีไดฟ์เดินมาไกลมากครับ จากการฝึกกันเองตามยูทูป หรือการเรียนที่ไม่ถูกต้อง กลายเป็นมาตราฐานที่เป็นเรื่องเป็นราว ผ่านวิทยาศาสตร์ทางการกีฬาสมัยใหม่ที่นำมาใช้ในการอธิบายการทำงานของร่ายกายของเรา





แค่ไม่กี่ปีที่แล้ว วงการแพทย์ทั่วโลก ไม่มีใครเชื่อ ว่าคนเราจะดำน้ำตัวเปล่าไปได้ที่ 50เมตร

วันนี้ ลงกันได้เป็นร้อยๆเมตร



เพราะ ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ทางการกีฬาสมัยใหม่ อย่างถูกต้อง

เพราะ เทคนิคการลงทะเลที่ความลึกที่ต่างกัน อย่างถูกต้อง

เพราะ เทคนิคการฝึกในสระที่แตกต่างกัน อย่างถูกต้อง

เพราะ เทคนิคการฝึกด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสม อย่างถูกต้อง

เพราะ วินัยในการฝึก อย่างสม่ำเสมอ กับบุคลากร ครู โคช ที่ได้รับการรับรอง ตามระดับที่สามารถสอนได้ อย่างถูกต้อง



The Author is Freediver Instructor Trainer / Special Consultant (Category A) to Ministry of Fiscal Policy – Sport and Leisure / Competition Certified Judge



about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page