top of page

ปัญหาของการกลับขึ้นสู่ผิวน้ำ ( problems with re-surfacing from deeper dives )


มีน้องๆที่มาเรียนถามเสมอ.. ‘ครูๆ ลงไปลึกขนาดนั้น แล้วหนูจะกลับขึ้นมาทันเหรอ’ ผมก็ตอบไป ทันสิครับ ไม่ต้องห่วง เดี๋ยวก็ดีเอง ส่วนหนึ่งที่ตอบไปแบบนั้น เพราะไม่อยากให้ผู้ที่มาเรียนกังวล ..เรียกว่าหลอกนักเรียนนั่นแหละ ภาษาหรูๆเค้าเรียก กุศโลบาย เป็นเทคนิคของครูในการสอนให้เค้าไม่กังวล เพราะยิ่งกังวลก็ยิ่งทำไม่ได้ สอบไม่ผ่าน..

ผมเขียนบทความที่แล้วเกี่ยวกับเทคนิคอย่างนึงในการลงลึก เป็นเทคนิคที่เรียกว่า Functional Residual Capacity (FRC) หรือการบริหารอากาศที่เหลือน้อยที่เหลืออยู่ในปอด รอบนี้จะเล่าให้ฟังถึงการขึ้นสู่ผิวน้ำบ้าง ว่าควรมีเทคนิควิธีการ หรือระมัดระวังประเด็นไหนดีเอ่ย

โดยทั่วไปการดำน้ำแบบ SCUBA เค้ากำหนดให้อัตราการขึ้นอยุ่ที่ 18 เมตร ต่อ นาที (หรือ อย่าขึ้นเร็วกว่าฟองอากาศของเราเอง) เพราะต้องระวังเรื่องก๊าสในร่างกาย (Air Embolism) สำหรับการฟรีไดฟ์สายมุ๊งมิ้ง เค้าไม่มีการกำหนดให้อัตราการขึ้นขึ้นตายตัวครับ ทำให้คนทั่วไปบางท่านคิดว่า อยากขึ้นเร็วช้าที่ไหร่ก็ขึ้น แต่เป็นที่ทราบกันดีในสายโปร สายครู หรือสายบู๊ (จะเรียกอะไรก็แล้วแต่) ว่าถ้าคิดเรื่องก๊าสเข้ามารวมด้วย โดยทั่วไป ไม่ควรเร็วกว่า 3 เมตร ต่อ วินาที

ครับ.. อ่านถูกแล้วครับ

อัตราการขึ้นสู่ผิวน้ำระหว่างการดำน้ำแบบ SCUBA เมื่อเทียบกับ ฟรีไดฟ์ อาจแตกต่างกันได้ถึง 18 x 60 / 3 = .. หรือ เป็นร้อยๆเท่า

สำหรับการดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ที่ไม่ได้ลึกมาก ( อืมมม..เอาเป็นว่าไม่ได้เกิน 15-20เมตรละกัน) แทบไม่มีอะไรต้องกังวล เพราะ ไม่มีการใช้เทคนิคอะไรพิเศษ ไม่มีปัญหาจากก๊าสอันตรายที่นักดำน้ำแบบ SCUBA ทราบกันดี คือ ไนโตรเจน แต่หลังจากการลงลึกเกิน 25 - 30 เมตร คนที่เรียนสายดำน้ำลึก SCUBA จะรู้ดี ว่า ไนโตรเจน (ที่มีอยู่ในลมหายใจที่เราเอง เก็บลงไปด้วยประมาณ 80%ของอากาศ) จะเริ่มเป็นพิษ (Nitrogen Narcosis) ถ้าเป็นพิษ ก็จะเริ่มมีอาการเมาๆ มึนๆ และมีโอกาสได้รับอันตรายจากผลอื่นๆที่ตามมาได้ บางคนก็เกิดเร็ว เกิดทันที บางคนก็เกิดช้า ว่ากันไปตามกุศลผลบุญที่ทำมา

การลงฟรีไดฟ์ตามปรกติ ไม่แนะนำให้หายใจออกเลย (Exhale) โดยเฉพาะ ตอนขึ้นสู่ผิวน้ำ เพราะการหายใจออก นอกจากจะเสียอ๊อกซิเจนออกไปแล้ว ปอดเราจะสูญเสียความสามารถในการขยายตัวออกตามกฏของบอยด์ (เพราะไม่มีอะไรให้ออก) ซี่โครง หน้าอก ถือเป็นอะไรที่ยุบหนอพองหนอทั้งนั้น มันก็จะไม่ขยายตัวออกเช่นกัน แล้วมันก็จะทำให้ตัวเราจม จม และ จม...(แทนที่จะลอย)

และการที่เราหายใจออก ทำให้ความดันสัดส่วน (partial pressure) ของอ๊อกซิเจนในปอดของเรา ลดต่ำกว่าความดันอ๊อกซิเจนในเม็ดเลือดแดง ซึ่งจริงๆควรอยู่ในระดับเดียวกัน (เริ่มยากอีกแระ) แต่ธรรมชาติของก๊าสจะเคลื่อนที่จากที่ที่มีความหนาแน่นสูง ไปที่ความหนาแน่นต่ำ เพราะงั้นแปลว่า ตอนเราดำลงไป อ๊อกซิเจนในปอดของเรา เคลื่อนตัวจากปอด กระจายไปที่เม็ดเลือดแดงทั่วร่างกายของเรา

แต่ขาขึ้นสู่ผิวน้ำ ถ้าขึ้นเร็วเกินไปและแอบเผลอหายใจออกด้วย สมองก็อาจะจะรับรู้ไม่ทันว่า ความดันสัดส่วนของอ๊อกซิเจนในเลือดเริ่มต่ำเกินไปแล้ว ดังนั้นเมื่อใกล้จุดที่ถึงผิวน้ำในระดับ 4-6เมตร ถึงความดันสัดส่วนของอ๊อกซิเจนสามารถลดลงต่ำเกินกว่าร่างกายจะทนได้ (ประมาณ 10% ที่ 1.6 ATM) เราก็น๊อคน้ำ หรือ blackout สิครับ (นักฟรีไดฟ์ทุกท่านรู้ว่า.. โปรดขึ้นช้าๆนะ ที่จุดๆนี้)

สำหรับการลงฟรีไดฟ์แบบลงลึก และลงบ่อยๆติดกัน ด้วยสารพัดเหตผล ไม่ว่าจะเป็นการพยายามลงให้ได้เพราะ อยากฝึกเอง หรือ อยากลงไปยิงปลา หรือ อยากสอบครูให้ผ่านตามหลักสูตร..อันตรายแฝงจากการขึ้นสู่ผิวน้ำอยู่อีกมาก ที่เรา อาจจะรู้ (แต่..บั๊บว่า เอาวะ..ลองดู) หรือ ไม่รู้ ( ลืมที่ครูสอน ลืม e-learning หรือดู youtube เอาก็โอเครละ)

เช่น การลงลึกเกิน 20 - 25 เมตรติดต่อกัน หลายสถาบัน (dive agencies/authorities) กำหนดให้ค่อยๆลงอย่างน้อย 3-4 dives ตื้นๆ (ประมาณ 1ใน 2 หรือ 1 ใน 3ของความลึกที่ตั้งใจจะลงจริง) ทั้งนี้เพื่อเป็นการวอร์มร่างกาย ก่อนลงลึกจริง และ ต้องมีอัตราการพักน้ำ (เหมือน SCUBA) เช่น ลงไปอึด 2 นาที ให้ขึ้นมาพัก อย่างน้อย 4นาที แล้วค่อยลงอีกครั้ง คิดเป็นสูตรแตกต่างกันไป

และขาขึ้น กำหนดให้หยุดพักน้ำ (คล้ายๆ safety stop) ที่ 10 หรือ 15 เมตรสุดท้าย เป็นเวลา 10-15 วินาที เพื่อค่อยๆให้ก๊าสไนไตรเจนออกจากร่างกายบ้าง นอกจากนั้น อย่าขึ้นเร็ว เก็บคอ (จุดเสี่ยงมากอยู่ที่ 1เมตร ต่อวินาที หรือขึ้นเร็วเกือบๆพันเท่าของพวก SCUBA … แหม๋ ก็ฟินมันแรง) อันนี้ยิ่งสำคัญมากสำหรับการลงลึกบ่อยๆต่อเนื่องกัน (repetitive dives)

นอกจากนั้น สำหรับการดำน้ำลึกมาก ( Deep / Competitive / Spearfishing Dive ) ยังมีการแนะนำ (หรือกำหนด) ให้แต่ละครั้งที่ดำน้ำ สามารถอยู่ได้บนผิวน้ำและใต้น้ำ หนุกหนานไปได้รวมเวลาไม่เกิน 3 ชมต่อวัน และ ไม่ให้ลงลึกเกิน 12-15 dives ต่อวัน (12ชม) ครับ

โอย... แค่อ่านก็เหนื่อย

คนเป็นครูก็เหนื่อยครับ.. (แอบบ่น)

เพราะความเข้าใจเรื่องฟรีไดฟ์ ถูกพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆตลอดเวลา

ครูจึงต้องเรียนเหมือนกัน ก็เพื่อ พัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ

ส่วนหนึ่ง เพราะฟรีไดฟ์ ไม่ใช่แค่

เรื่อง ความลึก (เรียนจบแล้ว อยากลงได้แค่ไหน ก็ต้องไปฝึกเอาเองจิ)

แต่คือ ความรู้ (ที่ต้องเรียนอยู่เรื่อยๆ)

..เพื่อความปลอดภัยของผู้เรียน เมื่ออยู่ในน้ำ

The Author is PADI Master Freediver Instructor, Adaptive Techniques for Freedivers, IDCS Instructor

about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page