top of page

ขึ้นเขา ลงห้วย Altitude Dive


ผมชอบไปญี่ปุ่นครับ นอกจากอาหารอร่อยแล้ว กิจกรรมกลางแจ้งให้ลูกๆและตัวเองก็มีให้ทำหลายแบบ ทั้งสกี ปีนเขา และแน่นอน ดำน้ำ ผมเคยเขียนถึงญี่ปุ่นเรื่องการดำน้ำไปบ้างแล้ว ลองหาอ่านดูได้ในนี้ครับ

ที่ญี่ปุ่น เหมือนกับอีกหลายที่ในโลก รวมทั้งบ้านเรา คือมีการท่องเที่ยวดำน้ำในแหล่งน้ำจืด เช่นในทะเลสาป ในน้ำแข็ง หรือตามเขื่อน หรือบึงในป่าเขาลำเนาไพร ซึ่งรูปแบบการดำน้ำแบบนี้สนุกไม่แพ้การลงทะเลเลยทีเดียว การดำน้ำแบบนี้มักจะอยู่บนภูเขา หรือที่ราบที่อยู่บนความสูงเกินกว่าระดับน้ำทะเล และถ้าพูดถึงการดำน้ำในแหล่งอะไรที่สูงตั้งแต่ 300เมตรขึ้นไป ก็อาจต้องระวังเป็นพิเศษนิดนึงครับ เพราะการดำน้ำแบบนี้เราเรียกว่า Altitude Dive ที่คนทั่วไปที่ดำอยู่มักไม่ค่อยนึกถึงว่าต้องมีการผึกหรือเรียนรู้ก่อนเตรียมตัวไปดำน้ำแบบนี้ อย่าไปเชื่อ Dive Shop มาก ส่วนใหญ่ก็จะบอกบอกโดดเลยๆ เพราะถึงอุปกรณ์ดำน้ำหลักๆจะใช้ได้เหมือนกัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าเดินทางไกลไปถึงก็โดดตูมลงเลยได้ทันทีเหมือนทะเลทั่วไป

Lake Motosuko, Japan.

เรามาดูกันนะครับว่า Altitude Dive หรือ การดำน้ำในที่สูงเราต้องทราบอะไรบ้าง

‘300 เมตร’ อาจฟังดูเยอะไกลเกินตัวจัง ... คงไม่มีใครนึกนะครับ ว่าแค่ครึ่งทางเขาใหญ่ (Max 726m) บริเวณน้ำตกเหวนรก หรือ เชื่อนศรีนครินทร์ (Max 950m) แถวๆกลางสันเขื่อน หรือที่ญี่ปุ่น Lake Motosuko (Max 1,100m) จุดท่องเที่ยวดำน้ำยอดฮิตใกล้ๆภูเขาไฟฟูจิ หรือในอิตาลี Lake Como ยอดฮิตของเซเลปจากฮอลลิวูด (Max 445m) และหลายๆ Dive Site ใน Hawaii ก็มีความสูงที่เราเรียกว่า Altitude แล้ว

สิ่งที่เราต้องเตรียมตัวเตรียมใจก่อนลงดำน้ำแบบนี้ หลักๆคือ ปรับสภาวะร่างกายครับ อยู่ดีๆไปถึงปุ๊ป จะโดดลงเลยคงไม่ได้ ต้องมีช่วงปรับตัวให้เข้ากับชั้นบรรยากาศ (acclimatization) ซึ่งถ้าไม่ได้สูงมาก ก็ประมาณ 12 ชั่วโมง (นั่งๆนอนๆกิน Sushi รอไปก่อน) หรือถ้าสูงเกิน 1,500 - 3,000เมตร ก็ต้องรอกัน 1-3วันก่อนลงน้ำได้ (พวกอยู่สูงมากๆแทบเทือกเขา Himalayas ใน Yellow Stone ในเทือกเขา Andes หรือ กว่า 30 dive sites ในแถบประเทศแอฟริกาใต้)

Yellow Stone National Park, USA

การดำน้ำในที่สูงเรื่องที่ต้องระวังที่สุดสำหรับนักดำน้ำ คือ ระยะเวลาการดำน้ำครับ เนื่องจากแรงกดดันมันสูงกว่าปรกติ ทำให้เนื้อเยื่อเรามันขับไนโตรเจนออกได้ช้ากว่ามาก ทำให้เราสะสมของเสียได้เยอะขึ้น และ เร็วขึ้น หลักๆคือไม่ควรดำนานเกินไปต่อหนึ่งไดฟ์ และไม่ควรดำติดๆกันหลายๆไดฟ์ถ้าไม่จำเป็น สำหรับ Dive Table จะใช้ ก็จะมีการเผื่อตัวแปรเหล่านี้ไว้ ทั้งน้ำจืด หรือน้ำเค็ม แต่เราในฐานะนักท่องเที่ยว (recreational diver) ไม่ต้องกังวลมากครับ เพราะ Dive Comp สมัยใหม่ส่วนใหญ่ มีโหมดที่ตั้งค่าให้เรารู้ และสามารถประเมินได้อยู่แล้วว่าเราดำอยู่ที่ความสูงเท่าไหร่ จะอยู่ได้นานได้ประมาณไหน และ อัตราการขึ้นลง ควรจะช้าลงเท่าไหร่ (ทำพลาด เดี๋ยวมันก็ร้องเตือนเอง)

แล้วถ้าถามว่า การดำน้ำในที่สูงแบบนี้มันเสี่ยงมั้ย? ก็จะตอบว่า เสี่ยงพอๆกับการดำน้ำที่ระดับปรกติทั่วไปครับ แค่อย่าไปล้อเล่นกับเส้นที่ขีดไว้ว่า 'อย่าเดินข้าม' ก็เป็นพอ เพราะถ้าเกินเลยไป อาการที่จะเกิดมีได้ตั้งแต่ จุกอก หายใจไม่ค่อยออก ไอ และรุนแรงไปถึงหมดสติได้ง่ายๆ (จาก hypoxia) เนื่องจากในที่สูง ร่างกายจะพยายามขับ Carbon Monoxide ออกมาเร็วโดยบีบ Respiratory system ให้มีอาการ 'อยากอากาศ' จึงมีการหายใจหนักขึ้น เนื่องจากความดันสัดส่วน (Partial Pressure) ของอ๊อกซิเจนที่ลดลงรวดเร็ว (...เริ่มยากอีกละ)

อีกอย่างคือ ในที่สูงกว่า ความกดดันสูงกว่า ความหนาแน่นของน้ำทะเลที่มากกว่าน้ำจืดอยู่แล้ว จะส่งผลมากกว่าปรกติมาก (ความหนาแน่นน้ำทะเลอยู่ที่ 64 ปอนด์ ต่อ cubic foot เทียบกับ 62.4 ปอนด์ ต่อ cubic foot ของน้ำจืด) ทำให้การคำนวณระยะเวลาการดำน้ำ แก๊ส การพักน้ำ ต้องคิดระดับความสูง และอุณหภูมิเข้ามาเป็นตัวแปรด้วย (จำได้มั้ยครับ ต้มน้ำในที่สูง เดือดง่ายหรือเดือดยากกว่าในที่ราบต่ำ แฮร่..)

The Alps, Austria.

อย่างไรก็ดี ร่างกายเราก็มีฟังก์ชั่นในการปรับตัวเราเองในที่สุงครับ (ไม่งั้นผู้คนคนที่อยู่บนเขา กลับขึ้นที่สูงคงหายใจไม่ออก หรือหนาวตายกันหมด) ถ้าเราต้องการปรับให้ร่างกายสร้าง ‘ภูมิคุ้นเคย’ จากแรงกดดันและอุณหภูมิต่ำลงมา ระบบในร่างกายเราจะสร้าง hemo-concentration (เพิ่มความเข้มข้นของเซลล์ในเลือด) ได้เอง แค่ตั้งแต่ 2-3ชมแรกที่อยู่บนที่สูง และสร้างเพิ่มต่อเนื่องได้อีก 2-4วัน โดยการเอาตัวเองจุ่มลงน้ำเย็นจัด หรือ การว่ายน้ำที่อุณภูมิเย็นจัด (ถือเป็นการซ้อมก่อนการลงดำน้ำจริงได้เหมือนกัน) การเตรียมตัวแบบนี้จะเป็นการเพิ่ม erythropoietin ซึ่งเป็นฮอร์โมนในร่างกายที่ผลิตขึ้นจากไต ทำหน้าที่ช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มระดับฮีโมโกลบิน ซึ่งช่วยในการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นการลดโอกาสการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ (hypothermia) ได้ครับ

การดำน้ำในที่สูง ดำน้ำแข็ง ดำเขื่อน หรือดำตามป่าเขาที่อากาศเย็นจริงๆแล้วก็สนุกนะครับ ไม่ได้ต้องฝึกอะไรเยอะ ขอให้เข้าใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นบ้าง เช่น อย่าไปกดเติมลมเข้า BCD แรงไปหรือบ่อยไป เพราะตัวเราจะ shoot เร็วขึ้นกว่าการดำน้ำปรกติมาก หรือการเติมใช้อากาศใน dry-suit เราก็มักจะพยายามทำให้จบครั้งเดียวก่อนลง (พร้อมๆกับการปรับ counter weight) ไม่ไปปรับระหว่างการดำน้ำ เพราะความเสี่ยงของ flow สูงมากครับ และระยะเวลาพักน้ำก่อนขึ้นเครื่อง (หรือแม้แต่การขับรถลงจากที่สูง ไม่ว่าจะขับเองหรือไม่) ต้องเกินกว่า 24ชม.ขึ้นไปครับ

...ที่สำคัญ ทำตามคำแนะนำ Dive Lead ท้องถื่น

เท่านี้..จะ ขึ้นเขา ลงห้วย เอ๊ย.. ลงดำน้ำ

ก็สนุกได้ไม่ยากแล้วครับ

The Author is PADI Altitude Diver Instructor


about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page