top of page

เทคนิคการเคลียร์หู Deep Equalization Techniques


ตามปรกติคนทั่วไปสามารถลงไปที่ความลึก 10-15เมตรได้ไม่ยากครับ เพราะ ณ จุดนั้นแรงดันในปอดควรจะทดแทน (compensate) กับความดันที่เพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าในน้ำได้ในระดับหนึ่ง (1.5 - 2 ata.) อย่างไรก็ดี เทคนิคการปรับความดันในหูเราไม่ใช่มีแค่บีบจมูก ปิดปาก และเป่าลมออกทางหูเท่านั้น วันนี้จะแนะนำง่ายๆว่า เค้าลงกันลึกมีหลักการและวิธีการอะไรบ้างนะครับ

Valsava

เป็นเทคนิคการ clear หูที่นักดำน้ำทั้ง SCUBA และ Freediver ทราบกันดี เทคนิคนี้เป็นการดึงอากาศออกจากปอด นอกจากบีบจมูก ปิดปาก เป่าลมแล้ว เรายังใช้ช่องท้องส่วนบน และการบีบตัวของกล้ามเนื้อช่องท้องตรงนั้นด้วย (Abdominal Contraction) เทคนิคนี้ จะ ลด ปริมาตรอากาศของปอด แต่เพิ่มแรงดันอากาศในปอดเช่นกัน เนื่องจากเป็นการดึงอากาศจากปอดผ่านออกมาจากช่องเสียงช่วงลำคอด้านบน (Glottis) และเปิดช่องเพดานปาก (soft palette) ที่ต่อเนื่องกับจมูก (nasal captivity) แรงดันทั้งที่เพิ่มขึ้นในช่องปาก (oral captivity) ก็จะเท่าๆกับปอดในจังหวะที่เรา'เรียก'อากาศออกมา

เทคนิคนี้ปรกติถ้าลงลึกกว่า 12-15เมตร เค้าไม่ใช้กันนะครับ เพราะอย่างแรก ทำยากและลงได้ไม่ลึกมาก เนื่องจากแรงดันของปอดเพิ่มขึ้นแต่ปรับไม่ทัน (สังเกตมั้ย ลงลึกๆจะจุกอก และก็เคลียร์ไม่ออกซักที) อย่างที่สอง ถ้าเราไปเรียกเอาอากาศจากปอด แปลว่าที่ความลึกมากๆ เราต้องเริ่มมีความเสี่ยงกับการเป็นพิษของก๊าซต่างๆ (นักดำน้ำสาย SCUBA ทราบดี)

Handfree

เป็นการ clear หูที่เกิดจากการบีบตัวของ peristaphyline muscles หรือกล้ามเนื้อที่อยู่รอบหูโดยตัวเราเอง (ลองกระดิกหู หรือยังคิ้วเล่นๆดูสิครับ) หลักการโดยทั่วไปคือการปิดหลอดลม หรือช่องเสียง (โดยการเอาลิ้นแลบออกมาอยู่ในปาก) ปล่อยให้เพดานปากเปิด เท่านี้กล้ามเนื้อบริเวณนี้จะบีบตัวออกมาเอง ทำให้แก้วหูขยับเมื่อความดันเปลี่ยน ลงแบบชิลๆได้ครับอันนี้

Frenzel

วิธีนี้ใช้ได้ตั้งแต่การลงตื้นๆ ถึงลึกๆเลยครับ เป็นการใช้ลิ้นดันไปที่ช่องปากด้านหน้าและกวาดไปด้านบนของเพดานปาก เรียนว่าเป็นการกวาดอากาศออกจากปากและไปปิดช่องเสียงที่คอ (Glottis) เพื่อไม่ให้ไปยุ่งกับอากาศในปอด วิธีนี้ทำให้ปริมาตรอากาศลดลง แต่เพิ่มแรงดันในปากผ่านลิ้นเรานั่นเอง (เหมือนรัวๆๆๆๆลิ้นในปากน่ะครับ) แรงดันที่เพิ่มขึ้นจะถูกส่งผ่านไปที่เพดานปากด้านบน และส่งออกไปที่ช่องหูตามปรกติ พูดง่ายๆ ไม่ใช้อากาศจากปอด และจากปาก แต่ไล่อกกาศออกจาก Air Captivity ที่โพรงจมูก แล้วไล่อากาศออกไปปรกติ ก็ประมาณว่า 'ปิดปาก แต่ให้อ๊วกอากาศออกมา ' อ่ะครับ

Advanced Frenzel

เมื่อลงลึกมากๆ เอาเป็นว่าซัก 20-30เมตรลงไป ให้ออกเสียง N (เอ็น) ตำแหน่งของการออกเสียงเอ็นๆๆๆ จะทำให้ลิ้นม้วนกลับ ไปเพิ่มการเรียกอากาศในปาก และใช้ลิ้นดึงอากาศจากด้านหน้า ลงมาด้านหลังของเพดานปาก การใช้เทคนิคนี้จะทำให้ ปริมาตรอากาศลดลง แรงดันเพิ่มขึ้นในปาก (จะรู้สึกอึดอัดในปากหน่อย) เพดานปากด้านบน (soft palette) เปิดได้ดีกว่า และทำให้เราเรียกอากาศจากช่องไซนัส (Nasal Captivity) ออกมาได้ดีกว่าครับ เพื่อไม่ให้อากาศที่เราไล่ออกไม่ไหลไปที่จมูกมากกเกินไป เราก็มักจะบีบจมูกไว้ หรือใช้ nose clips ช่วยครับ วิธีการนี้ทำให้แรงดันไปกองกันอยู่ที่จมูก และเมื่อเราปิดจมูกไว้ อากาศหาทางออกไม่ได้ เค้าก็จะไปออกที่หู (Eustachian tubes) แทนตามปรกติ ที่เราเห็นๆคนลงลึกแล้วบีบจมูก จึงไม่ใช่การทำ Valsava เสมอไปนะครับ

Sequential Frenzel

คล้ายๆ Advance Frenzel แต่แทนที่จะออกเสียง เอ็นๆๆ ให้ออกเล็ก M แทน การออกเสียงแบบนี้ตำแหน่งลิ้นจะไปกดอากาศในกระพุ้งแก้มมากขึ้น เพิ่มแรงดันในช่องปากและปริมาตรของอากาศ (ปากจะบวมๆ พองๆหน่อย เหมือนอมอะไรอยู่) วิธีนี้ลิ้นจะถูกดันไปด้านบน ล๊อกอากาศไว้เพิ่มแรงดันไล่อากาศออกเหมือนกัน แต่ที่แตกต่างคือต้องดึงลิ้นกลับมาตำแหน่งปรกติ และเริ่มออกเสียง เอ็มๆๆๆใหม่ สลับกันไปเรื่อยๆครับ วิธีนี้ดึงอากาศออกมาจากปาก (อมอากาศลงไปก่อนลงเยอะหน่อย) สามารถทำได้เรื่อยๆ ลงได้ลึกหน่อยครับ

Mouthfill

หรือการอมอากาศลงไป ไม่ว่าจะจากการดึงออกมาจากปอดก่อนลง หรือ อมลงไปจากผิวน้ำ ออกเสียง M เอ็มๆๆเหมือนกัน แล้วปากจะบวมๆ (อากาศขังอยู่เยอะ) กราม (Jaw) จะเปิดกว้างขึ้นโดยอัตโนมัติ จากนั้นเอาปลายลิ้นลงไปจุกที่ปลายฟันด้านหน้า โคนลิ้นมันก็จะไปจุกคอหอย (Glottis) จากนั้นหุบปากบีบกรามช้าๆ เอาลิ้นกลับมาไล่อากาศจากด้านหน้ากลับไปด้านหลัง (คล้ายๆเลียไอติมไปเรื่อยๆ แต่ทำในปาก) ทำช้าๆ ปริมาตรอากาศในปากจะค่อยๆยุบลงไปสู่โพรงจมูก (Nasal Captivity) วิธีนี้ถ้าทำช้าๆ ช่องหูจะเปิดตลอดเวลาระหว่างการดำน้ำลง แปลว่า แทบไม่ต้องกังวลว่าจะเจ็บหูเลย (บางครั้งถ้าทำช้าๆไม่ถนัด ครูจะให้ออกเสียงทีเคๆๆๆ T K ไปเรื่อยๆก่อน)

...

การลงลึก เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เราไม่สนุกกับการฟรีไดฟ์ถ้า equalize ไม่ได้

หวังว่าบทความนี้จะช่วยอธิบาย physiology บางส่วนของการจัดการเรื่องของหู และจมูกของเราได้

แต่อ่านอย่างเดียว ไม่ได้อะไรเท่าไหร่นะครับ

ครูแต่ละท่านมีเทคนิคการสอนต่างกัน เป่าลูกโป่ง กลั้นหายใจโหม่งบอล เคี้ยวหมากฝรั่งในน้ำ ปล่อยลมในน้ำจากจมูกทีละนิด ...สารพัด .. เพราะงั้น ให้ปรึกษาและไปเทรนกับครูดีกว่า

อย่าฝึกเองเลยครับ อันตรายได้เหมือนกัน

(เพราะต้องฝึกไปด้วย ดูยูทูปในน้ำไปด้วย ไต่เชือกลงลึกไปด้วย และ 'ต้องเข้าใจสรีระร่างกาย' เราเองด้วย)

The Author is Freediver Instructor Trainer

about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page