top of page

ลมหายใจของความพ่ายแพ้


ผมเป็นคนชอบดูหนัง เคยได้ดูหนังเก่าๆเรื่องหนึ่ง เป็นหนังเกี่ยวกับอเมริกันฟุตบอลครับ ถึงผมรู้สึกว่าเป็นหนังที่เลือกนักแสดงได้แบบไม่ถูกที่ถูกทางมากเรื่องหนึ่ง เพราะดันเอา คีอานู รีฟ มาเล่นเป็นควอเตอร์แบ็ค แต่ก็เป็นหนังกีฬาแบบ..ผู้ช๊าย..ผู้ชาย ที่ให้ให้มุมคิดที่คมกริบหลายมุม เช่นเมื่อ ยีน แฮ็กแมน ที่แสดงเป็นผู้จัดการทีมออกมาถามเพื่อให้สติอดีตควอเตอร์แบ็คตัวจริง ที่กลับมาเล่นให้ทีมเก่า แต่หนนี้เล่นๆเลิกๆในแบบไร้วิญญาณว่า.... “คุณรู้ไหมว่าสิ่งที่นักกีฬาทุกคนต้องการ และอยากได้เหมือนๆกัน คืออะไร..”

คำตอบคือ “ second chance ”

... พ่ายแพ้หรือชัยชนะบางครั้งต่างกันแค่ “ลมหายใจ” แต่เราเองทำไปให้ “ห่างไกลเหลือเกิน” ... ในโลก branding สมัยใหม่ เมื่อกำไรขาดทุน + ภาพลักษณ์ = กติกา ความเชื่อมั่น + คุณภาพ = ตัวชี้วัด ต่างออกไปสำหรับ 'นักกีฬา' ที่ คะแนน หรือสถิติที่สูงกว่า เป็นตัวตัดสิน สำหรับผู้แพ้หลายคน ความพ่ายแพ้ ควรเป็นโอกาสอีกครั้งของ ความพยายาม

...

เศรษฐีไอเอ็มเอฟคนหนึ่ง ต้องมานั่งเศร้า เมื่อทราบว่าการลดค่าเงินทำให้ตัวเองเป็นหนี้เพิ่มขึ้นหลายร้อยล้านจากค่าเงินที่ลดลง เริ่มทำงานแบบเบื่อๆอยากๆ กินไม่ได้นอนไม่หลับ บ่น ปรับทุกกับเพื่อนๆที่ทำธุรกิจ ว่ารู้สึกว่าตัวเอง “แพ้” หมดกำลังใจ เพื่อนแสนดีหัวเราะและบอกว่า เออจริง ตัวเองก็โดนเหมือนกัน ทั้งเป็นหนี้นับสิบๆล้าน งานก็ไม่ได้ทำเพราะโรงงานโดนยึด แต่ “ดีใจ” ได้เริ่มต้นใหม่ซักที ได้ฟังแบบนี้ลมหายใจจากความพ่ายแพ้ของเขาเริ่มเปลี่ยนเป็นกลิ่นของ “โอกาส” ชวนให้หวนหา “ชัยชนะ” ก็ในเมื่อของเราถึงหนี้จะเยอะ แต่ยังมีงานให้ทำ โรงงาน ห้างร้านยังไม่ถึงกับโดนยึด (แบงค์คงไม่อยากปล่อยให้ล้มง่ายๆ) เพื่อนคนอื่นเหมือนจะชนะ แต่มีกลิ่นความพ่ายแพ้มากกว่าเราตั้งเยอะ (และเค้าก็ยังอยากเริ่มต้นใหม่) ... สำหรับผู้ชนะบางคน ชนะแล้ว เป็นเรื่องของที่สุดของความพยายาม ซึ่ง ไม่จริงเสมอไป เพราะความสำเร็จที่แท้ทรู ไม่มีคำว่าคงกระพันครับ ใครๆก็รู้ว่า แบรนด์ไหน หรือใคร เป็นเจ้าชาเขียว ทำตลาดมานาน จนยอดขายกว่า 80%ของชาเขียวที่ขายในประเทศดันลดลงเป็น 70%.. 60% และไม่ถึง 50% ปล่อยให้ผู้ที่เคยแพ้หรือหน้าใหม่ในตลาดชาเขียวมองปัญหาใหม่ จากจุดอ่อนที่เคยสู้ไม่ได้ของทั้งตัวแบรนด์เอง จากแพ็กเกจจิ้ง หรือจากช่องทางจัดจำหน่าย เปลี่ยนเป็นการมองหาจุดแข็งที่รสชาติซึ่งใครๆก็ปรุงได้

ใครๆก็รู้ว่าตลาดของการท่องเที่ยวถูกกำหนดด้วยธรรมชาติ ธรรมชาติของกฏเกณฑ์ ของกติกา ที่เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้เช่นกัน เมือโลกถูกกำหนดด้วยกฏเกณฑ์กติกา ถึงจะชนะ ก็ต้องเข้าใจว่าการแข่งขันอาจยังไม่จบ แต่แพ้แล้ว ก็ต้องเคารพ รู้จักการยอมรับ ไม่ใช่ยอมรับในความพ่ายแพ้นะครับ

แต่ยอมรับกับความตื่นแต้นของ “โอกาส” ที่มาอีกครั้ง (second chance) เพื่อที่จะลุ้นให้กลับมาชนะ

เพราะไม่ว่า “ชนะหรือแพ้” มันก็ห่างกันแค่ “ลมหายใจ”

และไม่ว่าเจออะไร

ก็หวนให้ “คิดถึง” อีกสิ่งหนึ่งอยู่เสมอ

The Author is PADI IDC Staff Instructor


about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page