top of page

ทำอย่างไรให้ Dive Start-Up ไปถึงฝั่งฝัน?


ผมเขียนบทความนี้ให้นิตยสาร positioning on-line ปีที่แล้ว พอดีเห็น Line Today เอามาเผยแพร่อีกครั้ง วันนี้มานั่งๆคิดปรับๆให้เหมาะกับวงการดำน้ำ ซึ่งเป็น start-up ลักษณะ hybrid แบบหนึ่งที่ยังมีอะไรที่น่าค้นหามาก ประเด็นคือ เราจะว่ายหรือดำน้ำเข้าไปหาฝั่ง หรือ จะให้รอให้น้ำแรงแล้วรอให้โดนซัดเข้าฝั่งเอง ลองอ่านดูนะครับ

วันก่อนได้มีโอกาสอ่านนโนบายสนับสนุนการเปิดเสรีเรื่อง Visa เข้าประเทศไทยของรัฐ หลายๆประเทศก็เปิดเริ่มเปิดเสรีเรื่อง Visa ทั้งทำงานและท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง เนื้อหาส่วนหนึ่งก็คือการให้โอกาสชาวต่างชาติเข้ามาดำเนินการธุรกิจสตาร์ทอัพได้สะดวกง่ายขึ้นมาก สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (หรือดำน้ำ ซึ่งเป็นเพียง subset ของการท่องเที่ยว) ส่วนหนึ่งผมก็เห็นด้วยนะครับ เพราะเป็นการเปิดรับแนวคิด knowledge sharing อย่างเต็มที่ในโลกยุคไร้พรมแดน แต่อีกมุมหนึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าจะทำได้ดีมากน้อยเพียงใด ตอนนี้เราพูดเรื่องสตาร์ทอัพกันเกร่อพอๆ กับการพูดเรื่อง 4.0 ส่วนใหญ่คนมักจะมองสตาร์ทอัพจากมุมที่ดีทันสมัย ทำให้สวยดูดีก็มีฮิปฮิตติดลมบน วันนี้เรามาลองดูกันนะครับว่าทำไมบางธุรกิจสตาร์ทอัพถึงไปไม่สุดหรือไม่ได้ประสบความสำเร็จ

สตาร์ทอัพสำหรับ brand ดำน้ำในประเทศไทย 'ผูกติด'กับ ธุรกิจการท่องเที่ยวแบบแยกกันไม่ออก การทำงานหรือทำธุรกิจดำน้ำเกิดนานแล้ว มีองค์กร (Dive Agency) ต่างคนต่างดูแลกันไป แต่ละ Agency ก็พยายามสร้างจุดขายที่แตกต่าง

แต่แนวคิดหรือไอเดียเจ๋งๆ ของคนคนเดียว หรือองค์กรเดียว หรือจากการรวมกลุ่มกันของคนไม่กี่คนที่มี passion ไม่ต่างกัน ไม่ได้แปลว่าจะประสบความสำเร็จได้ง่ายๆ ธุรกิจสตาร์ทอัพของการท่องเที่ยวดำน้ำเริ่มมาแรงเมื่อ 20 ปีที่แล้วตั้งแต่สมัยผมดำน้ำใหม่ๆ แล้วก็ล้มหายตายจากกันไปเยอะ แล้วก็มาแรงในช่วงหลายปีมานี้ และที่เห็นประสบความสำเร็จทางภาพลักษณ์และทางธุรกิจ ก็มักจะมาจากคนต่างชาติเข้ามาทำมากกว่าคนไทยกันเอง

คำถามที่สำคัญที่ต้องถามตัวเอง คือ..

Are we making the same mistakes others did?

ประเด็นคือ ตั้งแต่ยุคที่ความเร็วของอินเทอร์เน็ตครองเมือง ทำให้เกิดการเติบโตของสตาร์ทอัพสูง แต่เกิดมาก ก็แท้งง่ายเช่นกัน brand สตาร์ทอัพดำน้ำที่อยู่รอดจริงมีเห็นอยู่ไม่กี่ราย ไม่น่าจะถึง 2-3% ที่ยังประสบความสำเร็จและไปต่อได้หลังจาก 1-3 ปีแรก ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับสเกลของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้งจากการขาดผู้สนับสนุนเงินทุนที่แน่นอนว่าต้องเลือกลงเงินกับสตาร์ทอัพที่ตอบโจทย์เฉพาะทางกับธุรกิจเขาเองมากกว่าอย่างอื่น หรือตัวผู้ก่อตั้งแบรนด์ก็ถอดใจไปเอง

เหตผลก็มาจากทั้ง การสื่อสาร มือถือ หรือมีเดีย หรืออีกเหตุผลคือ ไอเดียแรกเริ่มของธุรกิจสตาร์ทอัพพอเอาเข้าจริงอาจจะไปไม่รอดเมื่อลงสู่ตลาด (ดำน้ำเก่ง คิดเก่ง พูดเก่ง กับทำตลาดเก่ง และได้ยอดขายจริง มันไม่เหมือนกันเลยหนังคนละม้วน ตำราคนละแบบครับ)

สตาร์ทอัพยุคใหม่หลายชิ้นมักจะทำกันในรูปแบบที่วนไปเวียนมาไม่มีอะไรที่มีลักษณะ innovative อาจจะมีบ้างที่เป็นกิจกรรมนอกกรอบ แต่ไม่ค่อยตอบโจทย์

พูดง่ายๆ คือเราเริ่มจะมอง business model ที่มีคนคิดแล้วทั้งของคนไทยและคนต่างชาติ หรือสิ่งที่ องค์กร (Dive Agency)หยิบยื่นให้ แล้วนำความสำเร็จ (รูป)แบบนั้น มาต่อยอด มากกว่าการสร้าง original idea ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาแท็กซี่ไทยบนพื้นฐานแนวคิดบางส่วนแบบ Grab หรือ Uber หรือสารพัดแอพ อ่านหนังสือที่ในที่สุดก็จำกัดเฉพาะกลุ่มเพราะตีโจทย์เรื่องวัฒนธรรมการอ่านหนังสือของคนไทยจากการมองการอ่านแบบฝรั่ง หรือ การสร้าง platform การท่องเที่ยวที่ไม่ได้รวบรวมและตอบโจทย์ผู้บริโภคแบบครบจบในที่เดียว (เสียเงินไปปล่าวๆ) หรือแม้แต่การทำธุรกิจบนพื้นฐานที่อะไรก็พึ่งโซเชียล

นักลงทุน (หรือใครก็ตามที่จะมาลงเงิน)ด้วย และตัวเราเองถ้าคิดว่าเราเป็นนักลงทุนกับธุรกิจสตาร์ทอัพดำน้ำท่องเที่ยว ควรหันมามองความยั่งยืนเป็นหลักนะครับ สิ่งที่เขาคิดคือได้อะไรกลับมาในอนาคต (return) ได้มาเมื่อไหร่ (rate of return) และที่สำคัญ ถ้าเขาหรือเราจะจากไป จะไปอย่างไร (exit strategy) หรือถ้าอะไรไปได้ดี ก็คิดถึงอนาคตจะต่อยอดที่เป็นไปได้ร่วมกัน (diversification) ทั้งหมดนี้ สตาร์ทอัพไม่ควรปล่อยให้เขาคิดเอง แต่ควรคิดล่วงหน้าแล้วนำเสนอในลักษณะการทำ due diligence หรือการประเมินมูลค่าและทิศทางธุรกิจตลอดเวลา แทนที่จะรอให้เขามาประเมินเรา ใครก็ทราบว่าธุรกิจสตาร์ทอัพส่วนใหญ่มีแต่ไอเดียดี มีแรงดี แต่ไม่มีทุน อยากให้เขาหรือใครๆมาหนุนเราก็ควรเลือกเขา อย่าให้เขามาเลือกเราด้านเดียว

ที่ผ่านมาเราอยากจะเปิดหรือสนับสนุนสตาร์ทอัพกันเยอะ ปี 2016 ประเทศไทยได้ Global Innovation Index อันดับแค่ 52 (จาก 128) ตัวเลขนี้เขาวัดจากการสนับสนุน economic ecology เพื่อผลลัพธ์ทางนวัตกรรม และการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อันดับที่ได้ยังต่ำพอสมควร แปลว่ายังต้องทำอะไรอีกเยอะ หลักๆ คือทั้งระบบต้องหนุนกันตั้งการศึกษา ธุรกิจ หน่วยงานรัฐ และตัวเราเอง

สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ ตอนนี้มันกลายเป็นระบบนิเวศของการทำงานไปแล้ว แต่การสร้าง (หรือมีแนวคิด) single gateway ผมคิดว่าไม่ได้แค่จำกัดการเข้าถึงหรือการเกิดของธุรกิจดำน้ำใหม่ๆหรอกครับ เพราะใครๆก็เดินเข้ามาทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำได้ ท่องเที่ยวได้ การไม่พัฒนา รอพึ่งคนอื่น รวมถึง Dive Agency คือการทำแท้งโอกาสการเติบโตของตัวเอง และทั้งระบบธุรกิจเองเลย

ธุรกิจสตาร์ทอัพต้องเพิ่งความสามารถทางไอทีของคนเป็นสำคัญ แต่ผมบอกได้เลย ส่วนใหญ่เราไปโยนงานให้กับคนจบไอทีโดยตรงมาทำหน้าที่นี้ทั้งหมด หรืออยากนั่งทำเองแต่ก็ไม่ได้มีเวลาทั้งหมดที่จะทำให้มันดี ไหนจะสอน ไหนจะออกทริป จริงๆแล้วเจ้าของไอเดียต้องทุ่มเวลาทำการบ้านและสามารถบรรเลงไอเดียตัวเองเบื้องต้นผ่านภูมิทัศน์ของเทคโนโลยีได้ดีกว่าคนทำไอทีสายตรงด้วยซ้ำ ไม่ว่าการเขียนเว็บซึ่งสมัยนี้ทำได้เองง่ายมาก ประหยัดเวลา เวลาซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่ารองจากไอเดียสำหรับธุรกิจในยุคนี้

วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของการซื้อหรือของการบริการภาคธุรกิจเราก็ควรกำหนดให้ชัด ว่าจะขายของหรือบริการในภาคส่วนไหน eBay ในเมืองไทย (หรือแม้แต่ Amazon) ก็พลาดให้ Aliexpress มาแล้วเพราะเรื่องความเข้าใจในวัฒธนรรมการซื้อ การนั่งทำ e-commerce เอง หรือ s-commerce เองก็ควรดูแง่กฏหมายและความยั่งยืนให้ดี และที่สำคัญ การกำหนดราคาและการสื่อสารกับผู้ขาย รวมทั้งระบบวิธีการได้มาซึ่งสินค้า คนไทยชอบอะไรง่ายๆเวลาซื้อของ ที่ระดับราคาหนึ่ง แต่คนไทยตัดสินใจจะซื้อจริงยากครับ ผู้บริโภครู้จักเลือก รู้จักซื้อเอง

ตัวเลขการซื้อออนไลน์ที่สูงขึ้นไม่ได้หมายความว่าสตาร์ทอัพได้ไปกินส่วนแบ่งกับเขาด้วยสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ที่ได้ไปก็เป็น C2C ทั้งนั้น รีเทลเจ้าใหญ่ที่โดดลงมาเล่นเท่าที่ดูไม่มีอะไรใหม่นอกจากเกาะกระแสไป (มีเพราะออนไลน์เพราะต้องมี ไม่มีไม่ได้ ทั้งที่เงินลงทุนสูงมากสำหรับองค์กรใหญ่ แต่นั่นคงไม่ใช่ประเด็นสำหรับคนมีทุน)

เราจะเริ่มเห็นการรวมตัวกันทางธุรกิจของกลุ่มสตาร์ทอัพจากทั้งไทยและเทศ (merger) ส่วนหนึ่งแน่นอนคือการซื้อโอกาสและ know-how ของตลาด แต่อีกส่วนหนึ่งคือมันไปต่อไม่ไหวถ้ายังเชื่อมันใน original idea ของเราเองแบบไม่ปรับตัว ก็ไปไม่รอด สองปีที่ผ่านมาเราเห็นการเกิดการรวมกลุ่มของผู้ทำธุรกิจการท่องเที่ยว หรือการดำน้ำกันเยอะ หลากรูปแบบ แต่บางทีก็น่าคิดนะครับ ว่า partnership แต่ละที่มี business model ที่นำเสนอผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างไร แล้วรวมตัวกัน แล้วได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันหรือไม่

และที่สำคัญถ้าคุณเป็นแค่ venture capitalist หรือ angle investor (ที่ไม่ใช่ตัวคุณเอง พ่อแม่ญาติพี่น้อง) คำถามคือ คุณจะเอาเงินมาลงทุนในธุรกิจนี้เองหรือไม่?

ถ้ายังไม่แน่ใจในคำตอบ ไม่ว่าสตาร์ทอัพดำน้ำแบบนี้ หรือสตาร์ทอัพท่องเที่ยวอื่นที่มีไอเดียดีแค่ไหน ทิศทางที่จะไปมันคงไม่ได้ง่ายเหมือนนโยบายของรัฐที่มีคนกำหนดครับ

ขอให้ทุกท่านโชคดีนะครับ

The PADI is PADI IDC Staff Instructor

Original Article https://positioningmag.com/1137618


about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page