ทำไม ? โซเชียลคอมเมิร์ซ (s-commerce) ยังเป็น Trend แรงแห่งปี 2018
November 29, 2017
เผลอแป๊ปเดียวเราก็เข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปีอีกแล้วนะครับ บางท่านคงรู้สึกเหมือนกับว่ายังไม่ทันทำอะไรเลยก็จะหมดไปอีกปีแล้ว วันนี้ผมจึงอยากเขียนเรื่องอะไรเบาๆ เตือนใจตัวเองและผู้อ่านว่าปีหน้าโซเชียลแพลตฟอร์มที่ปัจจุบันพัฒนาตัวเองจะกลายเป็นกลไกที่สำคัญในเรื่องของการค้าขายนั้น ทั้งทางตรงและทางอ้อมจะมีทิศทางเป็นอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแวดวงของบ้านเราครับ
ทำไมธุรกิจ StartUp ส่วนใหญ่ไปไม่ถึงฝั่ง?
วันก่อนได้มีโอกาสอ่านนโนบายสนับสนุนการเปิดเสรีเรื่องวีซ่าเข้าประเทศไทยของรัฐ เนื้อหาส่วนหนึ่งก็คือการให้โอกาสชาวต่างชาติเข้ามาดำเนินการธุรกิจสตาร์ทอัพได้สะดวกง่ายขึ้นมาก ส่วนหนึ่งผมก็เห็นด้วยเพราะเป็นการเปิดรับแนวคิด knowledge sharing อย่างเต็มที่ในโลกยุคไร้พรมแดน อีกมุมหนึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าจะทำได้ดีมากน้อยเพียงใด ตอนนี้เราพูดเรื่องสตาร์ทอัพกันเกร่อพอๆ กับการพูดเรื่อง 4.0 ส่วนใหญ่คนมักจะมองสตาร์ทอัพจากมุมที่ดีทันสมัย ทำให้สวยดูดีก็มีฮิปฮิตติดลมบน วันนี้เรามาลองดูกันนะครับว่าทำไมบางธุรกิจสตาร์ทอัพถึงไปไม่สุดหรือไม่ได้ประสบความสำเร็จ
ตั้งราคาสินค้าออนไลน์ยังไง..ให้ขายดี
ในยุคสมัยที่ใครๆ ก็ขายของออนไลน์ได้ง่ายนิดเดียว ทำให้ความเป็นพ่อค้าแม่ค้าในพวกเราแต่ละคนออกมาโชว์พลังกันล้นท่วมเฟซบุ๊กและไอจีเต็มไปหมด เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการจับจ่าย สร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าและบริการ แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้การแข่งขันสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวครับ ในตลาด e-commerce และ s-commerce นั้น เมื่อมีสินค้าที่เหมือนกันหรือมีลักษณะคล้ายกัน ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบราคาได้ไม่ยาก ผู้ซื้อจะใช้เวลาตรงนี้ค้นหาสินค้าได้ในหลายแพลตฟอร์ม แล้วตัดสินใจซื้อ
มุมมืดของโซเชียลเซเลบ
เรื่องของคดีที่กำลังดังผมคงขอไม่กล่าวถึงนะครับ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของโลกโซเชียลที่จะสร้างหรือทำลายสังคมจริงไม่มากก็น้อย ไม่ว่าท่านที่เล่นหรือเป็นส่วนหนึ่งของโลกโซเชียลหรือไม่ เพราะถ้าคนที่ไม่ได้เล่นก็อาจจะไม่เข้าใจจริงๆ ว่าหน้าที่หรือฟังก์ชันของสื่อออนไลน์มันมีความหมายของมันอย่างไร หรือมันแพร่บริบทไปไกลถึงไหนแล้ว ไม่ต่างจากกฏหมายที่ต้องตีความ หรือความพยายาม (ในการสื่อสาร) ที่ต้องการความเข้าใจหรอกครับ
ขายของออนไลน์..เตรียมจ่ายภาษี
เรื่องธรรมดาครับ มีรายได้ก็ต้องมีจ่ายภาษี เป็นที่ทราบกับแล้วนะครับว่ากระทรวงการคลังจะปรับโครงสร้างภาษีออนไลน์ เช่นเดียวกับที่หลายประเทศเริ่มดำเนินการไปแล้ว โดยจะเริ่มเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% กับกลุ่มเว็บไซต์ ดิจิตอลเอเจนซี่ หรือโซเชียลแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่มีรายได้จากโฆษณาก่อน คำถามคือแล้วพ่อค้าแม่ค้าโซเชียลมีเดียที่มีรายได้จากการขายตรงหรือการโฆษณาล่ะ แนวโน้มจะเป็นอย่างไร
เราควรใช้โซเชียลมีเดียตัวไหน ขายของอะไรดีที่สุด?
เชื่อว่าสตาร์ทอัพหรือพ่อค้าแม่ค้าไอจีหลายท่านคงมีคิดเหมือนกันว่าสินค้าที่เราจะขายมันเหมาะกับโซเชียลมีเดียตัวไหนมากที่สุด เดี๋ยวนี้คนไทยใช้เฟซบุ๊กเยอะครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าเอะอะเจออะไรในเฟซแล้วก็จะซื้อ คนไทยใช้ไลน์กันแหลกลาญ แต่เอามาดูทีวีและทำงานหรือแชตเล่นหรือทำงานซะมากกว่า อีกอย่างที่ลืมไม่ได้คือประสบการณ์การซื้อของยังสำคัญมากกับการตัดสินใจซื้อ รูปแบบของการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ใกล้เคียงกับความจริง และสามารถนำเสนอให้เหมาะกับโซเชียลแพลตฟอร์มแต่ละแบบจริง ก็ยังแตกต่างกันออกไป แถมแต่ละแพลตฟอร์มยังเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่ตลอดเวลา การทำให้รูปแบบของ traffic ในการเข้าเยี่ยมชมสินค้าเปลี่ยนออกมาเป็น conversion rate ที่สูงจึงแปรตามกับรูปแบบการพัฒนาของแพลตฟอร์มนั้นๆด้วย
ตลาดแฟชั่นออนไลน์ในประเทศญี่ปุ่น
ตลาดแฟชั่นออนไลน์ในญี่ปุ่นพัฒนามาไกลและยาวนานกว่าเรามากครับ ในปีที่ผ่านมาตลาดค้าปลีกออนไลน์ในญี่ปุ่นโดยรวมเริ่มเห็นสัญญาณอิ่มตัว หรือจะเรียกว่าเติบโตด้วยอัตราถดถอยก็ได้ (ตลาดรวมเพิ่มขึ้น 4.7% ในปี 2015-2016) เหตุผลหลักอย่างหนึ่งก็เพราะแบรนด์ต่างๆ โดยเฉพาะแฟชั่น เครื่องสำอาง และ consumer electronics หลายแบรนด์ลงมาทำ e-commerce เอง retailer platform เจ้าใหญ่อย่างที่อยู่นอกญี่ปุ่นจากเอเชียหรืออเมริกาที่พยายามจะเจาะตลาดญี่ปุ่น เริ่มเลือกเบนเข็มมาที่ไทย ฮ่องกง มาเลเซีย และไต้หวัน ถ้าแบรนด์แฟชั่นไทยจะเลือก platform ออนไลน์ คงต้องเลือกดูว่าใครคือเจ้าตลาด และใครที่กำลังมาแรง หรือใครที่มีลูกเล่นที่เหมาะกับแบรนด์ไทยของเรา
หลอกให้อยากแล้วจากไป Ephemeral Marketing
สมัยก่อนตอนที่เฟซบุ๊กดังขึ้นมาช่วงแรก ปัจจัยหนึ่งที่ดึงความสนใจให้คนที่ไม่รู้จักเข้ามาใช้แอปหรือโปรแกรมตัวนี้คือเกมส์ครับ ตั้งแต่คนยังไม่รู้ว่าเฟซบุ๊กคืออะไร เราก็เข้าไปแข่งกันเก็บผักกันก่อนแล้ว เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก ตอนนี้เฟซบุ๊กติดกับดักความสำเร็จตัวเองหลายเรื่องในระดับ user engagement
คลินตัน-ทรัมป์ ธุรกิจสร้างสรรค์-นวัตกรรมจะเลือกใคร?
เรามาหยุดพักจากมุมมองเครียดๆหนักๆทางการเมืองของการเลือกตั้งประธานธิบดีสหรัฐที่กำลังสู่เข้าโค้งสุดท้ายแล้วที่กำลังดราม่าสาดโคลนกันอย่างหนัก ไม่ต่างจากการเมืองรูปแบบเดิมของหลายประเทศดีกว่าครับ ยังมีอีกมุมหนึ่งที่ผมคิดว่าแวดวงธุรกิจดีไซน์ ธุรกิจเทค-สตาร์ตอัพน่าจะลองศึกษาวิธีคิดจากนโยบายของนักการเมืองที่มีชื่อเสียงทั้งสองท่านนี้ ก็เพื่อว่าเราอาจะใช้ได้เป็นสวนหนึ่งของชีพจรคิดความคิดเพื่อการเดินหน้าเอาตัวรอดจากสภาพเศรษฐกิจที่หนักหน่วงขึ้นทุกวัน
การตลาดออนไลน์บนโลกที่ไม่มีโซเชียล
เรารู้จักโซเชียลเน็ตเวิรค์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เองครับ ผมยังจำได้นั่งเล่นเฟสบุ๊กครั้งแรกเพราะเพื่อนบอกให้ลองดูสิ เอาไว้หาเพื่อนเก่าสมัยเรียนได้ เล่นเกมส์ก็ได้ ตั้งแต่นั้นมารู้สึกว่าเฟสบุ๊กและโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นสิ่งที่ยากที่จะไม่ยุ่งกับมันในชีวิตประจำวัน และตัวโซเชียลแพล๊ตฟอร์มเองก็พัฒนาตัวมันเองให้น่าสนใจขึ้นมาเรื่อย และในที่สุด นักการตลาดก็หาหนทางและมีวิธีการใช้ประโยชน์จากแพล๊ตฟอร์มเหล่านี้ได้สารพัด จากครั้งหนึ่งที่เราไม่รู้จักมัน มาถึงวันหนึ่งที่ขาดมันไม่ได้ วันนี้หลายคนเริ่มเบื่อ ใช้มันน้อยลง และบางคนก็เลิกใช้ตัดขาดโซเชียลแพล๊ตฟอร์มทั้งหลายไปเลย
การตลาดคนสูงวัย หัวใจออนไลน์
เราคงเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า คนรุ่นคุณพ่อคุณแม่เรายังไม่พร้อมเสพสื่อออนไลน์ ไม่ตัดสินใจซื้อของจากมือถือ ไม่สนลูกตื๊อจากการ re-marketing วันนี้นักการตลาดคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจัยที่ทำให้เราต้องหันกลับมามองคนกลุ่มนี้นอกจากปริมาณประชากรในกลุ่มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว อีกปัจจัยก็คือพฤติกรรมการเสพสื่อของคนในวัยนี้โตตามทันเทคโนโลยีในระดับนึงแล้ว หรือจะมองในอีกมุมก็คือเทคโนโลยีย่อส่วนลงมา ลดทอนความยากในการใช้งานให้คนกลุ่มที่มีอายุสามารถเข้าถึงแล้วเข้าใจโลกออนไลน์ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้นจริง
การตลาดอสังหาฯ บนโลกออนไลน์?
ช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เรามักจะเห็นมาร์เก็ตติ้งแคมเปญรูปแบบต่างๆในวงการอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ครับ ทั้งการเชื่อมต่อการใช้โฆษณาออนไลน์และการประชาสัมพันธ์ที่ไหลไปกับโปรโมชั่นสารพัดรูปแบบ เรียกได้ว่าตอนนี้แบรนด์ดีเวลลอปเปอร์เจ้าใหญ่ใช้เม็ดเงินมาลงออนไลน์ไม่น้อยหน้าวงการค้าปลีก หรือวงการรถยนต์เลยทีเดียว ตอนนี้การลงทุนในสื่อสิ่งพิมพ์ต่ำลงเรื่อยมา ในวงการเราทราบกันดีอยู่ว่าแทบจะอยู่กันไม่ได้แล้ว หลายสื่อพยายามจะปรับตัวโดยการเป็นคนสร้างคอนเทนต์ให้กับดีเวลลอปเปอร์อีกทางแทนที่จะพึ่งรายรับจากค่าโฆษณาซึ่งแทบจะไม่เหลืออยู่เพียงอย่างเดียว ไม่นานมานี้เราเคยคาดเดากันว่ายังไงคนก็ยังอ่านหนังสือ นิตยสาร ถึงแม้จะเลิกอ่านหนังสือพิมพ์ วันนี้เห็นได้ว่าสิ่งที่คิดไว้ผิดถนัด เพราะทั้งหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ต่างทยอยหายกันไปเรื่อยๆ แม้ชื่อยังอยู่ แต่เนื้อหาสาระน้อยลงมาก คอนเทนต์แทบจะไม่เหมือนเดิม และแน่นอนว่าสิ่งที่แปรผันลดตามสาระและพฤติกรรมของคอนซูเมอร์ก็คือรายได้และรูปแบบโฆษณา
ใช้เงินให้ฉลาด การตลาดออนไลน์ 2017
ตัวเลขล่าสุดของเม็ดเงินโฆษณาออนไลน์เกิน 10,000 ล้านไปแล้วครับ นี่ยังไม่รวมดิจิตอลพีอาร์ งบโปรดักชั่น และการตลาดคู่ขนานอื่นที่เกี่ยวข้อง เรียกง่ายๆ เม็ดเงินที่ใช้การตลาดออนไลน์ตอนนี้แซงหน้าทีวีไปแล้ว ทุกคนรู้ว่าวันนี้ต้องมาถึง แต่หลายคนคงหวั่นไหวพอสมควรว่าทำไมมันถึงมาเร็วกว่าที่คิด
วิถี Freelance 4.0 ห้ามเหนื่อย ห้ามพัก
สถาปนิกสมัยก่อนใช้เวลานานกว่าจะมีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักครับ เหตุผลที่นอกเหนือจากเรื่องของฝีมือแล้วสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ ตัวผลงานซึ่งจะบอกตัวตนหรือบทพิสูจน์ของสถาปนิกเท่านั้น ทีนี้กว่าที่ตึกหรืออาคารแต่ละหลังจะเสร็จได้ใช้เวลาเป็นปีหรือหลายปี แถมดีไซน์ของเราตอนออกแบบครั้งแรกจนเมื่อสร้างเสร็จกลับมาดูอีกทีอาจจะไม่เหมือนกันเลย แบรนด์ของสถาปนิกหรือดีไซเนอร์จึงเป็นแบรนด์ที่ผูกติดกับผลงานที่เต็มไปด้วยอุปสรรคและตัวแปรสารพัด นอกจากนั้น แบรนด์ของสถาปนิกหรือดีไซเนอร์ไม่ต่างจากการทำ startup สมัยนี้ คือต้นทุนทางการตลาดไม่มาก (พูดง่ายๆ คือไม่มีตังค์) แต่กลับมีต้นทุนทางสังคมสูง เราจึงเห็นการใช้ตัวดีไซเนอร์ที่เป็นเจ้าของมาเป็นแบรนด์ลงมาเป็นแอมบาสเดอร์ซะเอง ใช้ชื่อเสียงของตัวเองนำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักโดยการใช้สื่อทางตรงหรือทางอ้อม ก็ไม่ผิดครับ แต่หลายแบรนด์ดังเขาก็คิดแบบนั้น แล้วเราจะเดินตามเขาทำไม?
Economy of Design ความคุ้มค่าของงานออกแบบ
หลายปีก่อนผู้บริหารของ GM และ Toyota ได้รับโจทย์งานออกแบบที่แตกต่างแต่ต้องการผลลัพธ์คล้ายกัน คือ ยอดขายที่เพิ่มขึ้น
ทางค่ายญี่ปุ่นมองว่าสมการของปัญหาคือการเอาชนะเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมัน และการสร้างวิธีการผลิตรถยนต์แบบใหม่ที่ไม่ต้องเน้นการประหยัดด้วยต้นทุนต่อหน่วยเพียงอย่างเดียว (economy of scale) ทางค่ายอเมริกันมองว่ารถ SUVs กำลังมาแรงมากในขณะนั้น
คู่จิ้นงานดีไซน์บนโลกออนไลน์
What's tเมื่อไม่นานมานี้ คุณแจ๊ค หม่า เจ้าของอาลีบาบา เว็บและเครือข่ายธุรกิจออนไลน์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อทั่วโลกไว้ว่า “สินค้าลอกเลียนแบบ (ของก๊อบ) ส่วนใหญ่ทำไปทำมาอาจจะมีคุณภาพดีกว่าของคล้ายกันซึ่งมาจากแบรนด์ดังด้วยซ้ำ ก็ทำไมล่ะ ในเมื่อมันมาจากโรงงานเดียวกัน วัตถุดิบเดียวกัน”his item about? What makes it interesting? Write a catchy description to grab your audience's attention...
Brexit โดดเดี่ยวงานดีไซน์
หลังจากที่ประเทศอังกฤษตัดสินใจลงประชามติออกจาก EU (European Community) หลังจากอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาสี่สิบกว่าปีต่อไปนี้อะไรๆก็คงไม่เหมือนเดิมครับ
อังกฤษเป็นประเทศที่มีนโยบายส่งออกทางวัฒนธรรมมาตลอดหลายร้อยปีและทำกันอย่างเป็นรูปเป็นร่างมีแผนแม่บททางการตลาดระดับประเทศและภูมิภาคไปทั่วยุโรปมานานแล้ว
ยุคที่ฟุตบอลไม่ได้แข่งกันในสนาม
หลายปีก่อนตอนผมยังอยู่ที่อังกฤษ วัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนอังกฤษในทุกวันเสาร์ที่ผมได้เข้าไปมีส่วนร่วมคือ การไปเชียร์ทีมที่ตัวเองชอบครับ อังกฤษเป็นประเทศรักกีฬาและรักเกมฟุตบอลมาก ใครๆ ก็รู้ความผูกพันของเกม ส่งต่อผ่านครอบครัว เมือง ที่อยู่นักเตะของทีมจากเมืองซึ่งทีมสร้างขึ้นมาเอง สนามของเมืองที่บางครั้งเป็นที่รวมตัวกันทำกิจกรรมของครอบครัว ฟุตบอลเป็นอย่างนี้มาเป็นร้อยปีแล้วครับ
อวสานของแม่ค้าไอจี?
สมัยผมกลับมาจากเมืองนอกใหม่ๆ (อย่าถามว่ากี่ปีแล้ว) เคยฝันอยากทำโน่นทำนี่มีโปรเจกต์เต็มหัวไปหมดตามประสาเด็กหนุ่มไฟแรงร้อนวิขาผู้ใหญ่ทุกคนก็เตือนไปบ่นไปว่าทำธุรกิจต้องเตรียมแผนการให้ดีจะเอาเงินมาจากไหนมีปัญญาจะจ่ายดอกเบี้ยแบงก์รึเปล่าจะทำงานกับใครลูกค้าเป็นคนแบบไหนดูหน้าดูตาดูโหวงเฮ้งให้ดีก่อนแถมยังตบท้ายด้วยอีกว่าการทำอะไรให้ประสบความสำเร็จในเมืองไทยน่ะไม่เหมือนเมืองนอกนะเก่งอย่างเดียวไม่ได้ต้องเฮงด้วย