top of page

สมการแห่งความสุข ของ Freediver


เคยสงสัยกันมั้ยครับ ทำไมนักดำน้ำฟรีไดฟ์เก่งๆถึงลงดำดิ่งกันไปได้ลึกจัง.. คนที่เคยเรียนฟรีไดฟ์คงทราบอยู่แล้วว่า กว่าครูจะพาลงไปได้แค่ 10เมตร บางคนก็เล่นเอาจุก สถิติระดับความลึกที่มากที่สุดของการแข่งขันฟรีไดฟ์ปัจจุบัน (Competitive Freediving) อยู่ประมาณ 214m สถิติโลกการกลั้นหายใจเอง (โดยไม่ใช้อ๊อกซิเจนอัดเข้าปอดก่อน) สำหรับผู้หญิงคือ 9 นาที และ สำหรับ ผู้ชาย อยู่ที่ 11นาที

อืมม..นักกีฬาระดับแชมป์สามารถกลั้นลมหายใจขั้นเทพที่แบบนั้นได้ยังไง?

โดยบริบทของนักวิทยาศาสตร์หรือคุณหมอส่วนใหญ่ มองกีฬาฟรีไดฟ์แบบสวนทางกันอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่วิทยาศาตร์สามารถอธิบายได้ ถ้าให้ท่านเหล่านั้นมาลองศึกษาระดับความกดดันทั้งร่างกายและจิตใจของกีฬาชนิดนี้ คิดดีๆในแง่สรีรวิทยาหรือร่างกายของเราแล้ว ส่วนใหญ่ท่านจะสรุปว่า มันแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ใคร ๆ ก็จะสามารถดำดิ่งลึกลงไปในระดับลึก หรือกลั้นหายใจยาวนานระดับนั้นได้

ถ้ามองบน (คิดบวก) คนธรรมดาทั่วไปไต่เขาสูงๆก็หายใจยากแล้ว ใครที่เคยไปภูฏาน หรือเนปาลมาคงทราบดี ว่าหายใจยากมาก เพราะอากาศหนาแน่นน้อย แรงกดอากาศสูง แต่ก็มีคนสามารถปีนขึ้นไปบนยอดเขาเอเวอเรสต์โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจได้แฮะ มีคนทำมาแล้ว และยังทำอยู่เรื่อยๆครับ ระดับความสูงของเอเวอเรสต์สูงกว่าระดับน้ำทะเลอยู่แรงพอตัว (ระดับความสูงประมาณเครื่องบินโดยสารนั่นแหละ)

เมื่อโลกพลิกกลับด้าน..

พอมองล่าง (คิดลบ) นักฟรีไดฟ์ต้องพบกับความกดดันมันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก(ถึงมากที่สุด) เพราะน้ำทะเลหนาแน่นมากกว่าอากาศถึง 7-800เท่า แค่ลงถึงความลึกแค่ไม่กี่เมตร ก็ลงยากกว่าเยอะ เจ็บหูขนาดหนัก ก็เพราะการฟรีไดฟ์มันไม่เหมือนการไต่เขา หรือการไต่ระดับของเครื่องบิน ที่เค้าค่อยๆเดินขึ้น ค่อยๆปรับแรงกดดัน มีเวลาปรับตัว แต่การลงทะเลมันพรวดเดียวลงไปเป็นสิบๆเมตร

เราลงทะเลไปแค่ 10 เมตร แรงกดดันเพิ่มอีกหนึ่งชั้นบรรยากาศ (แปลง่ายๆ เพิ่มขึ้นอีกสองเท่านั่นแหละ) แต่ขึ้นเขาไต่เขา เพิ่มขึ้นเป็นร้อยเมตรยังไม่ทันอึดอัดเลย

นั่นเพราะร่างกายมนุษย์เราคุ้นเคยกับพื้นผิว มากกว่าทะเลครับ (ก็เราเป็นสัตว์บกนิ มิใช่สัตว์น้ำ)

แล้วทุกๆ 10 เมตรที่ลงไปเรื่อยๆ ของมันก็จะแรงขึ้นเรื่อยๆ คราวนี้มันจะไม่ใช่แค่แรงบีบอัดละ แต่ช่องว่างภายในร่างกายของเรากลับหดตัวลงเรื่อยๆ (reverse dynamic) และถ้าลงลึกมากๆแบบนักทำสถิติ ร่างกายยังต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของก๊าซทำหน้าที่ต่างๆในกระแสเลือดอีกต่างหาก

ในยุคแรกๆ ของการดำน้ำฟรีไดฟ์สมัยใหม่ นักสรีรวิทยาเชื่อว่าให้ตายเหอะ ยังไงคนก็ไม่สามารถลงลึกเกินกว่า 30 หรือ 40 เมตรได้แน่ เอาแค่เรื่องปอดอย่างเดียวก็บอกได้ละ ลูกโป่งใบใหญ่ที่โดยแรงกดดันขนาด 4-5เท่าจะถูกบดขยี้ขนาดไหน ใครได้ลงไปขนาดนั้น โผล่ขึ้นมาไอสำลักออกมาเป็นเลือดแน่นอน (ปัจจุบันสำหรับคนที่ฟรีไดฟ์มือใหม่ก็มีเลือดออกปากบ้าง จมูกบ้าง หูบ้าง ปรกติครับ)

ทว่า..นักฟรีไดฟ์ไม่เชื่อวิทยาศาตร์ครับ เค้า ไม่ยอมแพ้ และก็ยังพยายามเอาชนะเรื่องที่วิทยาศาตร์บอกว่าไม่น่าจะทำได้

เพราะอะไรเหรอครับ?

เพราะเค้าเชื่อว่า.. องค์ประกอบของร่างกายที่ทำให้ทนทานได้ ส่วนใหญ่ มาจาก 'จิตใจ' ต่างหาก

นักฟรีไดฟ์เชื่อสนิทว่า การลงได้ลึก การอึดได้นาน มันไม่ได้เกี่ยวกับความสามารถทางกายภาพ แต่เกี่ยวกับทักษะทางจิตและการฝึกฝนทางจิตใจมากกว่า การฝึกฟรีไดฟ์ไม่ว่าตำราไหนสถาบันไหน จึงโฟกัสที่การปล่อยวางทุกสิ่งไว้บนโลกข้างบน แล้วคิดถึงเรื่องโลกข้างล่าง การฝึกฟรีไดฟ์แบบลงลึกมากๆจึงเป็นกระบวนการที่ปลดปล่อยจิตใจเป็นส่วนใหญ่ (ถึงแม้เรื่องร่างกายก็ต้องดีพร้อมในระดับนึงเหมือนกัน)

สำหรับการฟรีไดฟ์แบบไม่ได้ลงลึก ช่วงแรกๆของการดำน้ำ จะดำทิ้งตัวลงยากครับ

การดำน้ำที่ 0-10เมตร ร่างการไม่ได้ดิ่งลงโดยธรรมชาติ ต้องใช้แรงตัวเองส่งตัวเองลงไป เพราะแรงดันของน้ำจะดันต้านเรากลับสู่ผิวน้ำอยู่เรื่อยๆ แต่หลังจากความลึกประมาณ 15m ถึง 20m เมื่อมีการย้อนกลับของไดนามิกในร่างกาย นักฟรีไดฟ์จะเริ่มจมเหมือนหิน เราเรียกส่วนนี้ว่าการจมแบบ free fall เป็นช่วงเวลาที่นักฟรีไดฟ์หยุดเคลื่อนไหวอย่างสมบูรณ์ เป็นส่วนที่ชิลที่สุดของการดำน้ำ (เพราะไม่ต้องออกแรง ร่างกายก็จม)

และเรื่องที่ไม่ค่อยมีคนรู้ สำหรับการฟรีไดฟ์แบบลงลึก (deep dive) คือ เอาเข้าจริงแล้ว การลงน่ะ ไม่ยากเร้ย ขึ้นสู่ผิวน้ำน่ะ ยากกว่าเยอะ

เพราะที่ระดับความลึก 0-10 ม. เราต้องการออกซิเจนในกระแสเลือดมากกว่าที่ระดับ 100m นะครับ ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะเนื่องจากความดันของน้ำรอบๆ ทำให้ออกซิเจนมีขนาดเล็กลง จึงมีศักยภาพมากขึ้น เมื่อเป็นอย่างนั้นเรื่องที่เสี่ยงที่สุดของการดำน้ำลึกแบบฟรีไดฟ์ก็จึงกลายเป็น ขั้นตอนสุดท้ายของการตะเกียกตะกายขึ้น หรือดำน้ำขึ้นสู่ผิวน้ำ เพราะมีความเสี่ยงต่อการหมดสติที่น้ำตื้นน้ำตื้นขึ้นเมื่ออ๊อกซิเจนเจือจางลงจากการใช้งานไป พร้อมๆกับและระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อของเราลดลงอย่างกระทันหันครับ (partial pressure)

สิ่งที่นักฟรีไดฟ์ที่ลงลึกมากมักไม่ทราบ คือ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของกระแสเลือดของเนื่องจากความดันที่เพิ่มขึ้นทำให้ก๊าซสามารถละลายได้ง่ายขึ้นและออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น ดังนั้นไนโตรเจน (ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่ร่างกายไม่ต้องการจำนวนมากที่ละลายในกระแสเลือด แต่ร่างกายไม่สามารถปล่อยออกไปได้) จะมีพฤติกรรมเหมือน ’ยาเสพติด’ และทำให้เรารู้สึกเมาๆ ชิลๆ มึนๆ

ไอ้เจ้าความรู้สึกนี่แหละ ที่แม้ว่าเราจะลงไปแค่ 30 หรือ 40 เมตร ไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้น สะสมขึ้น

จะทำให้เรารู้สึก ฟิน (Euphoria)

สนุก กรุ๊มกริ่มๆ

นั่นคือ เหตผลอย่างหนึ่ง ว่าทำไม เวลาลงลึกๆ อึดนานๆ นักฟรีไดฟ์บางคนถึงชอบกันนักหนา

และเราก็ยังฝึก และฝึกกันต่อไป เพราะนักฟรีไดฟ์สายกีฬาเชื่อว่า ‘ร่างกาย + จิตใจ’ จะสามารถสร้างสมดุลที่แปลกประหลาดระหว่าง ‘ความกดดันที่มีอยู่ในระดับลึก(สั้นๆ) + การบริหารสติ + การใช้ลมหายใจที่เหลืออยู่ + ความรู้สึกที่ชีวิตกำลังถูกคุกคาม’

สิ่งเหล่านี้เป็น ‘สมการแห่งความสุข’ ที่สร้างผลลัพธ์ออกมาเป็นความสมดุลที่ล่อแหลมมากครับ

เพราะไม่ใช่ทุกคน รวมทั้งครูฝึกจะเข้าใจสรีรวิทยาทั้งหมดของฟรีไดฟ์ในวันนี้ เพียงเพื่อจะมีชีวิตอยู่ที่ความลึกระดับนั้นได้

เมื่อวิทยาศาสตร์คือการค้นพบ.. เมื่อความลึกคือความไม่สุด

คำตอบของคำถามใหม่ๆก็ยังรอให้ค้นหาอยู่

ทั้งความปลอดภัย.. อันตราย.. และความฟิน..

The Author is PADI Master Freediver Instructor

about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page