top of page

Equalization เธอคือลมหายใจ ฉันเป็นคำตอบ

ปัญหาโลกแตกของ Freediver อย่างหนึ่งคือ การ clear หู หรือ ทำอย่างไรไม่ให้เจ็บหูระหว่างที่เรากำลังทำความลึกไปครับ ผมพยายามบอกน้องๆครูและเพื่อนๆหลายคนที่มาเรียนเสมอ ไม่ต้องกังวลมาก อย่าไปเอาทฤษฏีอะไรเยอะแยะไปอธิบายผู้มาเรียนมากจนเกินพอดี เรื่องบางเรื่องมันก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน แต่มันยากเพราะเราชอบไปทำให้มันซับซ้อนกันเอง ชาวเล ชางประมง (Spearfishing) เค้าหาปลากันมาเป็นพันปีก่อนมีกีฬาฟรีไดฟ์ เค้าไม่เห็นจะเครียดอะไร


ก็เพราะโจทย์ของเค้าง่าย คือ ต้องลงไปหาปลาหาเลี้ยงชีพ

เมื่อโจทย์เค้าง่าย คำตอบของเค้าจึงไม่ยาก


ถ้ามันต้องลง งั้นก็ลงไปสิ


ที่สุดแล้วเค้าก็ลงไปได้ 50-60เมตรตั้งแต่ก่อนเราเกิดซะอีก



ครูอ้อม Freediver Instructor Candidate




เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ครูอ้อมสอนนักเรียนกลุ่มหนึ่ง หญิงล้วน แต่ละท่านแลดูกังวลตั้งแต่ออกจากบ้าน หลังจากเรียนในห้องเสร็จเรียบร้อย ทุกคนก็ลุยลงสระ ผมย้ำกับครูอ้อมเสมอ ว่าการสอนที่ดีในชีวิตจริง คือ ' การตั้งคำถาม ' ให้ผู้เรียนหา ' คำตอบ '


วันนั้นครูอ้อมยังไม่ได้ได้ตั้งตัว โดนยิงคำถามมาก่อนรัวๆๆ


' ครูอ้อมๆ ทำไมเจ็บหู '


' นี่แค่ในสระ แล้วหนูจะไปทะเลลงลึกได้งัย จะแก้ยังไงๆๆ '



เอาล่ะสิ ครูใหม่โดนลองของ ทฤษฏีที่เรียนมาเอามาอธิบายยังไงดี ครูโป้ก็จ้องอยู่ในสระ จะหารูปมาอธิบายก็ไม่ทันแล้ว จะเอาโน๊ตบุ๊คลงมาข้างสระก็ไม่มี จะให้มโนเอาเองนักเรียนก็คงนึกไม่ออก จะอธิบายเรื่องช่องหูพยายามนึกศัพย์ดันจำไม่ได้


ตัดสินใจบีบจมูก ทำให้ดูก่อนหลายรอบ ก็ยังแก้เรื่องเจ็บหูให้เค้าไม่ได้ เอาล่ะสิ


ทำยังไง.. ทำยังไง.. ทำยังไง... (ดีฟระ)


...



' กินโค๊กมาเยอะๆ แล้วรู้สึกไงคะ? '


' อึดอัด อืด ' นักเรียนคนนึงตอบแบบ งง งง ครูมาแนวไหนฟระ


' พออืด แล้วไง กินต่อได้มั้ยคะ '


' กินได้ไง มันจุก '


' แล้วทำไงล่ะ '


' ก็เรอเอิ่ก '


' เรอแล้วเป็นไง '


..


' ... หายจิ '



...



' นั่นแหละ ก็เหมือนกัน เราอึดอัด เพราะแก๊สหรืออากาศข้างในมันอยากออก อยากจะกินโค๊กอีกก็กินไม่ได้ '


' พอมันได้เรอออก หายจุก จะกินไรต่อก็ได้ '



' เหมือนหูไง ลงลึก อากาศในปอดมันอยากออกมาข้างนอก ปอดเหมือนลูกโป่งโดนกดลงน้ำ มันก็อยากเด้งขึ้น ความดันข้างนอกก็อยากเข้าเพราะลงลึกมากขึ้น แรงดันน้ำหาทางเข้าได้รูเล็กเดียว คือ ช่องหู หูก็เลยเจ็บ '


' หู มีลิ้นปิดเปิดอากาศภายในกับภายนอก ถ้าทำให้หายเจ็บ ก็ลงลึกต่อได้ '



...



' แล้วทำไงล่ะครู ' นักเรียนถามต่อ.. คงเริ่มหิวโค๊ก



' ก็เหมือนเวลาอยากเรออ่ะค่ะ ทำตามธรรมชาติ ขยับคอ หรือ กดพุงนิดหน่อย เราก็เรออออ ออกมาเอง '


' เวลาฟรีไดฟ์ ทำตามธรรมชาติ ก็ขยับหูนิดหน่อย เด๋วแก๊สมันก็ออกมาเองเหมือนกัน '


' จะเป่าออก จะกลืนน้ำลาย จะล้างจมูก จะกระดิกหู จะกวาดลิ้น จะเงยหน้า '


' ทำไรก็ได้ ให้หูมันขยับ เด๋วอากาศก็ออกได้เอง '



' หายเจ็บ ก็จบ '



...



โหหหหหห.....


ผมนั่งยิ้มอยู่ข้างสระ นางอธิบาย Valsava กับ Frenzel’s เบื้องต้นแบบมาเหนือจริงๆ



...



ไม่พูดเยอะ เจ็บคอ ไม่ต้องใช้ศัพย์เทคนิค คนไม่อยากจำ อยู่ในน้ำแล้ว เหนื่อย ฟังไม่รู้เรื่อง เป็นครูไม่ใช่ Professor สอนดำน้ำไม่ใช่สอนวิทยาศาตร์การกีฬา ดำน้ำให้สนุก ไม่ใช่เอาชนะ เรียนไปเที่ยว ไม่ได้จะไปสอบฟิสิกส์โอลิมปิก



...



ชีวิตคนเรา ไม่ยากครับ ถ้าเราตั้งโจทย์ง่าย สิ่งที่เราเรียนรู้ คือ สิ่งที่เราเห็น และสิ่งที่เราทำ


Freediver แต่ละคนมีเทคนิคที่ต่างกัน


ผู้เรียนแต่ละคนจึง มีวิธีการ clear หูต่างกัน เพราะ ร่างกายแต่ละคน ' ไม่เหมือนกัน '


จะเอาตำรายากเว่อร์มาอธิบายก็ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจเหมือนกัน



...



การตั้งคำถามที่ถูกต้อง จะทำให้เราได้คำตอบที่ถูกต้อง


ไม่ว่าคำถาม จะมาจากเรา หรือมาจากผู้เรียน


คำถาม จึงเป็น อาวุธที่สำคัญจากผู้เรียน


การที่นักเรียนอยากพูดคุย อยากฝึกกับครู จึงเป็น ' คำตอบ' ที่ครูทุกคนรอคอย


เพราะยิ่งถูกถาม ครูยิ่งอยากหาคำตอบ ยิ่งได้คำตอบ ผู้เรียนยิ่งได้ประโยชน์


ครูก็ชอบให้นักเรียนถาม เพราะได้ทบทวนเทคนิคความรู้ที่ตัวเองมี ความทรงจำอาจจะลิมไปชั่วขณะ เป็นคำตอบที่ไม่จำเป็นต้องเป๊ะเหมือนตำรา


เรื่องของหู อธิบายไม่ต้องเหมือนใคร ทำได้หายเจ็บได้ ก็ลงลึกได้เหมือนกัน



...



เติ้งเสี่ยวผิงเคยพูดว่า ' ไม่ว่าแมวสีอะไร จะดำ จะขาว ขอให้จับหนูได้ ก็ใช้ได้เหมือนกัน '



Equalization หรือ อี-ควา-ไล-เซ-ชั่น แปลว่า การทำสถานะให้เท่าเทียม การปรับความดัน การเคลียร์หู การ.. การ.. สารพัดจะแปล สารพัดเทคนิค สารพัดจะตีความให้มันยากเข้าว่า



สำหรับครูอ้อม แกคิดง่าย สอนง่าย เข้าใจง่ายครับ


' Equalization = EQ = อี คิว '



' ความฉลาดทางอารมณ์ คือ ลมหายใจและความอยากรู้ของผู้เรียน '




The Author is Freediver Instructor Trainer


about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page