SPEARFISHING 101: รู้จักอุปกรณ์ที่เรียกว่า SPEARGUN เบื้องต้น

Spearguns จริงแล้วค่อนข้างเป็นอุปกรณ์เรียบง่ายตรงไปตรงมา ใช้งานไม่ยาก แต่ถ้าไม่เคยใช้มาก่อน เราอาจไม่รู้ว่ามันทำงานอย่างไรให้ปลอดภัย ง่ายเกินไปคนก็นึกว่าใครๆก็ทำเองได้ (ซึ่งไปทำเองแบบบ้านๆกันก็เยอะ)

สำหรับบทความชิ้นนี้ผมจะพยายามอธิบายส่วนต่างๆ ของปืนยิงปลาแบบที่เรารู้จักกันว่า Speargun และ วิธีการทำงาน และวิธีที่เราสามารถใช้ในกิจกรรมแบบใหม่นี้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยครับ

Spearguns ส่วนใหญ่ที่ใช้ในปัจจุบันเป็นแบบใช้รูปแบบการดีดตัวของยาง (Rubber Band) Spearguns ที่ทำงานและมีแรงขับเคลื่อนด้วยแรงดีดของยาง Rubber Band ซึ่งถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็คือมันจะทำงานคล้ายกับการใช้หน้าไม้และหนังสติ๊กพร้อมๆกัน ตัวปืนบรรจุลูกดอกยาว (Shaft) โดยการดึงแถบยางจากปลายกระบอกปืนไปด้านหลังปืน เมื่อเหนี่ยวไก ตัวกระสุนลูกดอก (บางคนเรียกว่า ลูกหอก หรือ Shaft) จะถูกปล่อยออกเมื่อเหนี่ยวไกจาก Rubber band ที่ถูกล็อคเข้าที่กับลำกล้องไว้ก่อน แล้วแรงดีดจะดันหอกไปข้างหน้าหรือไปตามเป้าหมายที่ต้องการ

คนที่เคยยิงปลาคงพอจะทราบนะครับว่ายังมีปืนอีก2-3แบบ ซึ่งพบเห็นกันว่ายังใช้กันบ้าง แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก แบบแรกเราเรียกว่า ปืนลม หรือ ปืนอัดลม ซึ่งลูกดอกจะถูกยิงโดยกลไลการปล่อย CO2 ที่มีแรงดันจากตัวกระบอกปืนครับ ส่วนอีกแบบคือ Pole Spear หรือ Hand Spear ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำได้เองแบบบ้านๆใช้ไม้ไผ่หรือท่อและลูกดอกทำเองจากเหล็กแหลม โดยอาจจะใช้พร้อมหนังยางทั่วไป(หรือไม่ใช้ก็ได้)ครับ

1. ส่วนต่างๆ ของ Spearguns

Spearguns เกือบทุกชนิดจะมี components หรือองค์ประกอบที่สำคัญคือ ด้ามจับพร้อมไกปืน ลำกล้องปืน และหอก(ลูกดอก) ซึ่งมี เชือก เอ็น (Shooting Line) แบบต่างๆที่เชื่อมต่อกับปืน และเพื่อยึดตัวปลาที่ว่ายหนีออกไปด้วยหอกเมื่อยิงโดนปลา และ ตัวร่อง guide เพื่อความแม่นยำของการยิง นอกจากนี้การใช้งานยังมีรูปแบบการปล่อยเชือกให้ได้ระยะต่างๆที่ยึดลูกดอกครับ ก็ว่ากันไปตามลักษณะหรือความจำเป็นในการใช้งาน

2. ด้ามปืน หรือด้ามจับ (Grip)

Spearguns ส่วนใหญ่มีด้ามแบบด้ามปืนพกพร้อมไกปืน ตัวป้องกัน ตัวปล่อยสาย และกลไกที่ล็อคลูกดอกให้เข้าที่ เมื่อเปิดใช้งานความปลอดภัย ไกปืนจะถูกล็อค (Safety Lock) แต่เมื่อปลดออกสามารถดึงออกมาได้ การดึงไกปืนจะปล่อยลูกดอก ปล่อยให้ยางดีดกลับและดันหอกไปที่ปลาที่เราเลือกเป็นเป้า การเหนี่ยวไกที่ถูกต้องยังเป็นการปล่อยแนวการยิงพร้อมกันเพื่อให้หย่อนพอที่จะไปถึงเป้าหมายที่เราต้องการ ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำงานของแนวการยิงในหลักสูตรการเรียนครับ

3. กระบอกปืน หรือ ลำกล้อง (The Barrel)

ลำกล้องปืนเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมากกับตัวปืน ลำกล้องทำให้ด้ามเพื่อรองลูกดอกหรือลูกหอก (spear/shaft) มีที่สำหรับร่องการยิงและนำทางให้ตรงเมื่อถูกเหนี่ยวไกยิงออกไป ลำกล้องสามารถทำจากวัสดุเกือบทุกชนิดครับ แต่โดยทั่วไปแล้วเราเห็นเป็น ไม้ (ทำเองได้บ้านๆ น้ำหนักมาก ระยะน้อย ความแม่นยำต่ำ) เหล็ก (แข็งแรง แต่หนักมาก และเป็นสนิมได้) อลูมิเนียม (เบาพอสมควร เป็นที่นิยมมากที่สุด) หรือคาร์บอนไฟเบอร์ (ซึ่งกำลังมาทดแทนวัสดุอื่นๆ เพราะออกแบบลำกล้องได้หลายแบบ มีคุณสมบัติแรงรีคอยน์ต่ำมาก) ด้านหลังของกระบอกปืนจะเชื่อมต่อกับที่จับและปากกระบอกปืนอยู่ที่ส่วนท้ายครับ

ความยาวลำกล้องมีความสำคัญกับสรีระของผู้ใช้งานและรูปแบบประเภทต่าง ๆ ของการจับปลาแบบ spearfishing เป็นตัวกำหนดให้เราเลือกใช้ปืนที่มีความยาวต่างกันนะครับ สำหรับกิจกรรม Spearfishing ในพื้นที่แคบ หรือต้องมอง ต้องลอดใต้ก้อนหิน หรือในถ้ำ เพื่อหาปลา กุ้ง ล๊อปสเตอร์ หรือพวกปู (crustaceans) ซึ่งมักซ่อนตัวอยู่หลบคลื่นลมตามธรรมชาติของเค้า ปืนที่เล็กกว่าจะคล่องตัวกว่ามากครับ ปืนที่สั้นที่สุดเหมาะที่จะใช้สำหรับกิจกรรมแบบนี้นะครับ และโดยทั่วไปแล้วปืนสั้นจะมีขนาด 50-75 ซม. (19.7-29.5 นิ้ว) ซึ่งแน่นอนว่าปืนแบบนี้ยังเหมาะกับคนที่เพิ่งเริ่มต้นหัด หรือช่วงแขนสั้น และมักจะถูกใช้เป็นปืนกระบอกที่สอง หรือกระบอกสำรองเวลาออกไปทำกิจกรรมตัวนี้ ท่านที่คิดว่าปืนสั้นทำให้ยิงไม่แม่นยิงไม่โดน ไม่จริงเลยครับ ไว้จะอธิบายในหลักสูตรครับ

สำหรับปืนระยะกลาง คือ ปืนที่มีความยาวตั้งแต่ 80-115 ซม. (31.5-45 นิ้ว) เป็นปืนที่ผมคิดว่าเอนกประสงค์ที่สุดครับ เพราะสามารถทำงานได้ในสถานการณ์กระแสน้ำ หรือกิจกรรม Spearfishing ที่หวังผลระยะสั้นก็ได้ หรือจะไกลก็ดี ปืนประเภทนี้มักถูกเรียกว่า "ปืนแนวปะการัง" (reef speargun) เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วเราจะใช้พวกมันรอบแนวปะการังหรือบริเวณที่มีโขดหินกองหินจำนวนมาก ซึ่งเราจะสามารถยิงปลาทั้งที่ซ่อนตัวอยู่ในโขดหิน (อาศัยความชำนาญหน่อย) หรือดำน้ำฟรีไดฟ์ใกล้แนวปะการังในทะเลเปิด ถ้ามีโอกาสจะพูดถึงวิถีการยิงอีกครั้ง เพราะแน่นอนว่าเราคงไม่อยากไปยิงพลาดโดนปะการังทำลายธรรมชาติถ้าเราใช้งาน Spearguns ไม่เป็นหรือไม่คล่องตัวครับ

สำหรับลำกล้องปืนที่ยาวที่สุดเราเรียกว่า "ปืนบลูวอเตอร์" Blue Water Speargun ซึ่งมีระยะตั้งแต่ 120-160 ซม. (47-63 นิ้ว) Spearguns ประเภทนี้ใช้เพื่อเป้าหมายปลาขนาดใหญ่ หรือที่เราเรียกว่า Game Fish เช่น ทูน่าประเภทต่างๆ กระโทง บาราคูด้า ซึ่งมักจะอยู่ในน้ำลึก ว่ายเร็ว อาจจะเป็นฝูง หรือมาเดี่ยวก็ได้ครับ

สำหรับความกว้างของลำกล้อง มีทั้งลำตัวแคบและแบบป้าน บานออก เป็นการออกแบบที่เป็นตัวกำหนดการจมลอย หรือ ที่เรารู้จักกันดีว่า buoyancy ครับ การออกแบบลักษณะนี้ทำให้ปืนลอยน้ำได้ดี เล็งง่าย แต่ก็ต้องมีเทคนิคการลงน้ำเช่นกัน เพราะถ้าอุปกรณ์ลอยง่ายก็คือเราดำลงยากนั่นเอง

4. ปากกระบอกปืน (Muzzle)

ที่ส่วนท้ายของลำกล้องปืนคือปากกระบอกปืนซึ่งมีหน้าที่สำคัญมากเหมือนกันนะครับ ในปืนบางกระบอก โดยเฉพาะปืนที่ทำจากไม้ ปากกระบอกปืนเป็นเพียงส่วนปลายของลำกล้องปืน ไม่ใช่ส่วนที่แยกจากกัน ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าจะทำให้ปืนสั่นหรือไม่เวลายิง สิ่งที่ปากกระบอกปืนสำคัญมากคือยึดแถบยางไว้ให้แน่นไม่หลุด หากต้องการขึ้นปืน สิ่งสำคัญคือ ความแข็งแรงและรูปแบบของปากกระบอก ซึ่งต้องอยู่ตรงปลายกระบอกปืน

ปากกระบอกปืนยังมีตะขอหรือร่องสองอันที่เส้นแนวยิงผ่านไป นอกจากนี้ยังมีจุดยึดสำหรับตำแหน่งที่แนวการยิงจะยึดติดกับปืน ซึ่งปกติอาจจะมีสายช็อต (shock cord) เพื่อให้สามารถยืดระยะหวังผลออกได้ ท้ายสุด โดยปกติจะมีเส้นบอกแนวสำหรับเส้นรีล (รอก) ที่จะผ่านถ้าปืนถูกตั้งค่าด้วยรีล (reel) ซึ่งจะอธิบายต่อไปครับ

ปากกระบอกปืนออกแบบได้เป็นทั้งแบบธรรมดา มีขอเกี่ยว มีลูกหมุน (rollers) มีลูกตั้ง สารพัดดีไซน์ ทั้งหมดก็เพื่อทำให้ประสิทธิภาพตรงกับการใช้งาน ไว้มีโอกาสจะอธิบายเพิ่มเติมแต่ละแบบนะครับ

5. ยางรัด หรือ ยางยิง (Rubber Bands)

ปืนมักมีแถบยางอย่างน้อยหนึ่งหรือสองอัน ปืนที่ใหญ่และยาวหน่อย อาจจะกว่าสามหรือสี่อันก็ไม่แปลกครับ เห็นได้ชัดว่า ยิ่งแถบยืดไปด้านหลังมากเท่าไร (Stretching Range) ลูกดอกก็จะยิ่งตึงมากขึ้นเท่านั้น ก็จะทำให้ยิงได้เร็วและไกลขึ้นเมื่อเหนี่ยวไกครับ แถบหนึ่งสามารถเป็นยางได้สองชิ้น(หรือสองด้าน) โดยแต่ละอันผูกติดกับปากกระบอกปืนด้านใดด้านหนึ่ง หรือเป็นชิ้นเดียวที่ไหลผ่านรูที่ปลายกระบอกปืน ยางรัด (rubber band) เมื่อเอาสายเกี่ยวเข้ากับลูกดอก (Shaft) จะเห็นว่ามีช่องว่างระหว่างยางและที่เรียกว่า "ปีกนก" (Wish-bone) เพื่อเชื่อมปลายทั้งสองข้าง ปีกนกเป็นสิ่งที่ยึดจับลูกดอก เนื่องจากยางมีความหนาเกินกว่าที่จะเชื่อมต่อกันและล๊อกกับลูกดอกได้

Wish-bone สามารถทำจากโลหะหรือจากเชือกที่มีความแข็งแรงสูง ซึ่งถ้าเป็นเชือกที่ยืดหยุ่นสูงเราจะเรียกว่า Dyneema ซึ่งเอามาทำสายยิงหรือ Shooting line ได้ตามความหา บางที "ปีกนก"แบบนี้ นิยมกว่าโลหะ เพราะปรับระยะและเอามาใช้เป็นเชือกสำหรับอุปกรณ์ยิง ซ่อมแซมง่ายไม่ต้องหาอะไหล่เปลี่ยนบ่อยครับ

6. ลูกดอก หรือ หอก (Spear / Shaft)

หอกเป็นด้ามเหล็กแข็ง ปลายแหลม ด้านหลังปลายมี Flopper หรือ เงี่ยง ซึ่งเป็นชิ้นส่วนโลหะที่ตรึงไว้กับด้ามหอกเพื่อให้สามารถเปิดออกเพื่อช่วยจับปลาไม่ได้หลุดออกจากตัวลูกดอกครับ เงี่ยงส่วนใหญ่กางออกได้จากหอกเมื่อถูกยิงออกไปโดนปลา และเมื่อปิดกลับเองเพื่อให้ลู่น้ำ เพื่อให้มีความคล่องตัวเมื่อหอกถูกปล่อยและไม่ทำให้ความเร็วของลูกดอกลดลงครับ

7. รอก (Reel)

การใช้ Spearguns สามารถเลือกจะติดตั้ง ได้ทั้งแบบมีรีลหรือไม่มีก็ได้ครับ โดยปกติ หากเราไม่มีรอกเราก็จะใช้ทุ่นลอย (ส่วนตัวผมคิดว่าทุ่นลอยจำเป็นมากๆถ้าไม่มีรอก) ซึ่งเป็นเชือกที่ยึดปืนของเรากับทุ่นลอยที่ผิวน้ำ (ไว้ผมจะอธิบายละเอียดในหลักสูตรนะครับ) ปลาตัวใหญ่เวลาอยู่ในทะเล แรงกระชากเยอะกว่าที่เราคิดมาก ถึงจะเห็นว่าเหมือนตัวเล็กๆก็เหอะ และเมื่อเรายิงได้แล้ว หรือปล่อยลูกดอกแบบไปแล้วโดนแล้ว ตามหลักการ spearfishing ที่ดี เราต้องกลับไปที่ผิวน้ำเพื่อหายใจอย่างถูกต้อง (recovery breathing phrase 3) หากเรามีการใช้สายลอย (floating line) ควบคู่กันด้วย เราก็แค่ปล่อยปืน (กรณีที่ปืนผูกเชือกไว้อย่างดีกับทุ่นและหรือเป็นปืนที่ปากกระบอกลอยน้ำได้) ปลาที่เรายิงโดนเค้าถึงเค้าจะยังสู้อยู่ก็ไปไหนไม่ได้ครับ เพราะติดปลายเชือกและติดทุ่นอยู่ ลากยังไงปืนก็ไม่หายแน่ๆ

ปืนที่ติดตั้งกับรอกจะทำงานแตกต่างกันกับปืนทั่วไป ลูกดอก หรือ shaft จะยึดติดกับแนวยิงที่ยึดติดกับสายรอกของเรา หากเรากำลังจะวางแผนเลือกยิงปลาตัวใหญ่หรือมีน้ำหนักมาก เทคนิคคือเราควรที่จะต้องถือปืนไว้และปล่อยปืนให้ปลาว่ายออกไปเมื่อยิงโดน หรือปล่อยให้เค้าลากและดึงเส้นเชือกออกจากรอก จากนั้นเราจะกลับมาที่ผิวน้ำ หายใจ ตั้งสติ แล้วค่อยๆม้วนสายเข้าหรือดึงปลากลับด้วยมือจากสายเอ็นของเราเองครับ (เทคนิคจะแล้วแต่ประเภทปลา และความลึก และขึ้นกับตัวแปรอีกหลายอย่างครับ)

8. สายเอ็น สายเชือก (Shooting line)

โดยทั่วไปปืนที่เราใช้ยิงปลาไม่ว่าจะแบบไหน จะมีระยะยิงหวังผลไม่มากนะครับ แต่ลูกดอกก็ยังสามารถเดินทางได้นานกว่าความยาวลำกล้องสองสามเท่าก็เพราะเค้าถูกออกแบบมาแบบนั้น ซึ่งหมายความว่าแนวยิงที่เชื่อมลูกดอกกับปืนจะต้องยาวประมาณสามเท่าของลำกล้องปืน (นั่นคือเหตผลว่าทำไมอุปกรณ์มาตรฐานถึงให้มาประมาณ 3-5เมตรก็พอแล้ว) สายต้องยึดเข้าที่เพื่อไม่ให้พันกันและไม่ทำให้ปลาตกใจ (เวลาเราฟรีไดฟ์เราจะอยู่ค่อนข้างใกล้ปลาเวลาเล็งยิง เพราะปลาสายตาเค้าดีกว่าเรามาก

นอกจากนั้นเค้าจับความรู้สึกเราได้ดีกว่าด้วย เพราะน้ำมีความหนาแน่นสูง) และสามารถวิ่งออกไปในน้ำอย่างอิสระหลังหอกเมื่อยิง และแน่นอน ต้องไม่ทำให้ความเร็วของลูกดอกช้าลง การเลือกประเภท ความหนา ความเร็วของสายให้เข้ากับประเภทปืนจึงสำคัญมาก

9. การติดตั้งสาย หรือ การขึ้นปืน (Setting up your speargun)

ปืนแต่ละแบบเซ็ตไม่เหมือนกันครับ ยากที่จะอธิบายได้แบบเป๊ะๆว่ามันทำงานอย่างไรสำหรับปืนแต่ละแบบแต่ละแบรนด์ และก็แน่นอนแต่ละสถานการณ์การใช้งาน โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นการติดตั้งสำหรับปืนมาตรฐาน ปืนโรลเลอร์ และปืนที่มีรอกครับ ท่านที่มีเวลา ติดตามได้ในหลักสูตรหรือบทความต่อไปนะครับ

การยิงปลาเป็นกิจกรรมที่นิยมมากในต่างประเทศ ที่สำคัญมากคือ ต้องเรียนให้ถูกต้อง รู้จักการดำน้ำที่ถูกต้อง รู้จักการทำกิจกรรมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และใช้อุปกรณ์ที่ปลอดภัย เหมาะสมกับเรา เหมาะสมกับรูปแบบกิจกรรมนี้ครับ

ครูโป้

Spearfishing Instructor

Freediver Instructor Trainer / Examiner

1