ลึก ไม่ลับ.. อีกมุมของการดำน้ำที่หลายคนมองไม่เห็น

การดำน้ำมักมีภาพของความสนุกสนาน มากกว่าความรับผิดชอบต่อสังคมและคนรอบข้าง คนที่เรารู้จัก ไม่อยากจะรู้จัก หรือไม่สนใจที่จะรู้จักครับ เรามักจะเห็นการโชว์รูปเซฟฟี่กับฉลามวาฬ มันต้าเรย์ หรือการถ่ายภาพน้ำลึกของนูดี้ตัวเล็กสีใส ปาการัง ซีแฟนสีอิ่มสด อุปกรณ์ใหม่สวยงามตามแฟชั่น เทคไดฟ์แบบดำถ้ำหรือดำน้ำแข็งที่ญี่ปุ่น การดำน้ำกับปลาโลมา หรือการช่วยกันกู้ซากใต้ทะเล หรือปลูกปาการังเทียมจิตอาสา

courtesy of Living Sea

เรื่องของการดำน้ำ ก็เหมือนกีฬาและการท่องเที่ยวที่มีทั้งมุมที่มืด และมุมที่สว่างครับ การดำน้ำกับฉลามขาวที่ South Africa หรือ Australia โดยให้นักท่องเที่ยวอยู่ในกรง สวมอุปกรณ์สกูบ้า แล้วให้คนเรือล่อฉลามเข้ามาใกล้โดยการใช้เลือดสดๆสาดลงไปแทบจะตลอดทางที่เรื่องแล่นผ่าน หรือใช้เหยื่อปลอมรูปร่างเหมือนโลมา ทำให้ฉลามเสียสัญชาติญานความเป็นธรรมชาติของการล่าของตัวมันเองไป และสร้างความบ้าคลั่งให้สัตว์อย่างผิดแผกจากความเป็นจริง แถมอาจจะทำให้มันบาดเจ็บจากการเข้าจู่โจมกรงนักดำน้ำ (แต่สร้างความสะใจให้นักท่องเที่ยวทั้งที่ดำน้ำอยู่ในกรง และอยู่บนเรือ) เรื่องนี้เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก ว่าเป็นเรื่องที่ควรทำกันหรือไม่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวดำน้ำแบบนี้

การที่อ่าวไทยมีการปิดฤดูการประมงหลายเดือนในแต่ละปี ก็เพื่อให้ทะเลฟื้นตัว มีสิ่งมีชีวิตที่เป็นอาหารของปลาเศรษฐกิจสำคัญของชาวประมง หรือปลาทู เพิ่มจำนวนมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้ฉลามวาฬตัวยักษ์หรือเจ้าจุดของนักดำน้ำว่ายเข้ามาในอ่าวไทยมากขึ้นด้วย ในมุมของคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมดำน้ำ แน่นอน สิ่งเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามของท้องทะเลและสิ่งมีชีวิต คือจุดขายที่สำคัญครับ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า นักดำน้ำทุกคนจะรู้จักกับการปฏิบัติที่ถูกต้องกับสัตว์ทะเลประเภทนี้หรือสิ่งแวดล้อมใต้ทะเล เราจึงเคยได้ยินเรื่องของความรับผิดชอบของนักดำน้ำบางคนที่ไล่ล่า(รูปถ่าย)ระยะใกล้ใจประชิดกับเจ้าจุด จนมันเกิดอาการหงุดหงิดแล้วก็ว่ายหนีไปเฉยๆ หรือการที่เรารีบว่ายไปหามันต้าเรย์(ที่ว่ายเร็วมาก)จนอากาศแทบจะหมดแท๊งก์จนต้องรีบขึ้นจากน้ำ อันตรายมากทั้งคนทั้งสัตว์นะครับ อากาศหมด ขึ้นจากน้ำในจุดที่คาดไม่ถึง มองไม่เห็นในระยะใกล้ โดนน้ำพัดออกไปไกลมากจนเหนื่อยลงไดฟ์ต่อไปไม่ไหว หรือการที่เราเข้าใกล้สัตว์แบบนั้นจนมันรำคาญ (และอาจจะถึงจุดอันตราย ด้วยสัญชาติญานในการป้องกันตัวของมันเอง) ต่อไปคงหาตัวมันยากครับ หรือแม้แต่การเอาไม้ pointer เคาะแหย่ให้ปลาไหลมอเรย์ออกมาให้เราถ่ายรูป ครูดำน้ำที่มีประสบการณ์เจอเหตการณ์แบบนี้มาแล้วทั้งนั้น

เรื่องหลายเรื่องที่เราช่วยกันได้ถ้าพยายามจะมอง ยังมีอีกหลายอย่างครับ เรื่องเล็กแบบการเอาแชมพูทำฟิล์มที่หน้ากากแล้วล้างน้ำทิ้งทะเล ส่วนหนึ่งมันก็สารเคมีนะครับ คนทั่วไปอาจจะมองว่าทะเลมันออกกว้าง คงไม่เป็นไรมากมั้ง จะคิดยากไปทำไม เรากลับน่าจะมองว่าเรือที่เราอยู่มันก็แคบนะ ถังชำระก็วางอยู่ ทำไมไม่เททิ้งบนเรือล่ะ ง่ายกว่าตั้งเยอะ

เรามักเห็นฝรั่งมาดำน้ำในเมืองไทยกันตรึม และมากขึ้นเรื่อยๆ ครู หรือ dive lead ที่เป็นคนต่างชาติหลายคนบางทีก็พยายามแสดงความรับผิดชอบต่อทะเลโดยส่งสัญญาณมือต่อว่า(ด่า)นักดำน้ำไทยที่ดำใกล้ปาการังมากไป ผมว่า ครูและนักดำน้ำไทยพอขึ้นจากน้ำแล้วรีบไปถามคนเหล่านี้กลับดีมั้ย ว่าท่านมีความรับผิดชอบต่อคนไทย สังคมไทย ประเทศไทย โดยมาทำงานถูกต้องตามกฏหมายไทยหรือเปล่า หรือท่านเป็นแค่นักท่องเที่ยวที่มาสอนดำน้ำตามเกาะแก่ง เพื่อหาเงินเที่ยวต่อในเมืองไทยแบบถูกกฏหมายบ้างผิดกฏหมายบ้างเรื่อยไปแบบนี้

การดำน้ำลึกแบบสกูบ้าทำให้เราเห็นอะไรหลายอย่างกว้าง มีมิติมากขึ้น

แต่จะลึกแค่ไหน มันก็คงไม่ลับตาเกินไป.. สำหรับใครที่กล้าจะมองครับ

#History #diving #NAUIThailand #ครสอนดำนำ #ชวตนกดำนำ #DiveInstructor #DivingInstructor #diveenvironment

1